วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายยุค 4G

การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายของโลกในยุคปัจจุบันได้ถือกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ๆมากมายหลากหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีการคิดค้นและพัฒนากันอย่างรวดเร็ว และ ได้อันนำมาซึ่งระบบเครือข่ายไร้สาย 4G ที่เกิดขึ้นในอนาคตทำให้มนุษย์เราในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยีจึงต้องก้าวตามเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ให้ทันกับยุคสมัยนั้นๆ โดย Mr. Alwin Toffler นักอนาคตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงกล่าวไว้ว่า “อนาคตมักจะมาเร็วเสมอ ” การสื่อสารไร้สายก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยขณะที่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กำลังขยายไปทั่วโลก แต่ก็ยังช้ากว่าแผนที่วางไว้และในขณะนี้กลุ่มของเทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ใหม่ ที่กำลังเกิดขึ้นได้เข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็คือ ยุคของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย “4G” ด้วยผลกระทบอันมหาศาลที่เกิดขึ้นจากบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตในทศวรรษที่ผ่านมา และความสำเร็จอย่างล้นพ้นของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปัจจุบันนี้เรื่องของบรอดแบนด์เคลื่อนที่จึงมีความสำคัญ เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เทคโนโลยีการสื่อสาร "LTE และไวแมกซ์" จึงกลายมาเป็นจุดสนใจ และก่อให้เกิดการถกเถียงกันถึงเรื่องที่ว่า เทคโนโลยีไหนดีที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ทั้ง LTE และไวแมกซ์ ได้รับการขนานนามว่าเทคโนโลยี "4G" โดยมีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขข้อจำกัดของ "3G" หรือเทคโนโลยี third generation เทคโนโลยีรุ่นที่ 3 นั้น เริ่มต้นมาจากวิสัยทัศน์และความต้องการของ International Telecommunications Union (ITU) เนื่องจากประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G มาใช้ นอกจากระบบการ สื่อสารดังกล่าวจะรองรับการสื่อสารในรูปแบบต่างๆแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถที่จะนำโปรแกรมสื่อมัลติมีเดียมาปรับใช้กับเครือข่าย 4G ได้ เนื่องจากระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G นั้น มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที โดยการนำโปรแกรมสื่อมัลติมีเดียมาใช้อาทิเช่น การฟังเพลง MP3 ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสาร เป็นต้น นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นด้วยว่า มีหลายสิ่งที่อาจเป็นไปได้ในระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G โดย Mr. Ran Yan รองประธานฝ่ายวิจัยระบบไร้สายของบริษัท Lucent Technologies ได้กล่าวไว้ว่า มีหลายสิ่งที่อาจเป็นไปได้ในระบบเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 4G ซึ่งสิ่งใหม่ๆที่ เกิดขึ้นอาจรวมถึงการช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบ GPS ( Global Positioning System ) ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าในปัจจุบันและหากมีการผสมผสานเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ากับระบบเครือข่ายการสื่อสารแบบไร้สาย 4G ก็จะสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ในการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งต่างๆได้ทั่วโลกราวกับว่าบุคคลนั้นได้ไปอยู่ในสถานที่เหล่านั้นจริงๆเช่น หากคุณไม่อยู่บ้าน แต่มีคนมาเคาะประตูบ้านคุณๆก็อาจจะตัดสินใจใช้เทคโนโลยีนี้ฉายภาพคุณเพื่อทักทายกับคนที่มาเคาะประตูนั้นก็ได้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 4G จะมีความสามารถและสมรรถนะสูงมาก ในระดับที่สามารถชมภาพวิดีโอกันแบบสดๆได้ พร้อมคุณภาพระดับ DVD เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติต่างๆของระบบ 4G ก็อาจดูเหมือนยังห่างไกลจากความเป็นจริงนักสำหรับในตลาดของเทคโนโลยีในโลกยุคปัจจุบันมากจนดูเหมือนกับว่าเป็นแค่เพียงนิยายวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ถึงอย่างไรเราก็ยังหวังและมีความเชื่อกันว่าจะต้องมีวันหนึ่งในไม่ช้านี้ที่เราจะได้เห็นระบบของ 4G นั้นสามารถช่วยให้มีการใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติที่สมบูรณ์แบบและช่วยให้คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้นโดยอาจจะไปโผล่ที่นั่นที่นี่ได้ตามต้องการ
4G ( Forth Generation ) มาจากคำเต็มว่า ระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 4 เทคโนโลยี 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ( Three-dimensional ) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเองนอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีก เครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4G จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะสามารถมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi ได้จริงหรือ เพราะความสามารถในการใช้งานได้ทั้งสองแบบ อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังคงยึดกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้ และ 4G ยังเป็นที่สนใจของบรรดาผู้ให้ บริการสื่อสารไร้สาย ผู้ผลิตเครื่องอุปกรณ์ (OEMs) นักลงทุน และผู้คนในวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ โดยโปรแกรมที่เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดีย นับเป็นกลุ่มโปรแกรม ที่มีแนวโน้มสูงที่สุด ที่จะถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบ 4G นี้ โดยเฉพาะในตอนที่ ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล ถูกพัฒนาให้เพิ่มสูงกว่า 100 megabit (เมกะบิท) ต่อ วินาทีแล้ว "ตัวอย่างเช่น คุณอาจดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอ มาไว้ในรถยนต์ ก่อนคุณออกเดินทางไกล เพื่อว่า ลูก ๆ จะได้มีอะไรไว้ดูเล่นบ้าง" โดย Brodsky กล่าวในส่วนของการใช้งานในองค์กร หรือบริษัทต่าง ๆนั้นว่า ระบบ 4G จะสามารถช่วยให้พนักงานที่อยู่ในระหว่างเดินทางไกล สามารถต่อเชื่อมเข้ามาใช้งาน โปรแกรมธุรกิจต่าง ๆ ขององค์กรเหล่านั้น ได้ราวกับว่า เขานั่งทำงานอยู่หน้า PC ตามปกติในสำนักงาน ซึ่งนั่นจะช่วยให้ ไม่จำเป็นจะต้องมีการติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม เติม ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ระบบไร้สายเหล่านั้นให้ยุ่งยาก (และช่วยประหยัดค่าโปรแกรมอีกไม่น้อย) โดยมีแรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G ได้แก่ข้อที่หนึ่งความสามารถในการทำงานของ 3G อาจจะไม่เพียงพอที่จะสนองตอบความ ต้องการของแอพพลิเคชั่นสูง ๆ อย่างเช่น มัลติมีเดีย, วิดีโอแบบภาพเคลื่อน ไหวที่เต็มรูปแบบ ( Full-motion video ) หรือการประชุมทางโทรศัพท์แบบไร้สาย ( Wireless teleconferencing ) ทำให้เกิดความต้องการเทคโนโลยีเครือข่ายที่จะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ 3G โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่มากด้วย ,ข้อที่สองมาตรฐานที่ซับซ้อนของ 3G ทำให้ยากในการเชื่อมโยงและทำงานร่วม กันระหว่างเครือข่าย แต่เราต้องการใช้งานแบบเคลื่อนที่และพกพาไปได้ทั่วโลก, ข้อที่สาม 3G ทำงานบนแนวคิดของการให้บริการบริเวณพื้นที่หนึ่ง แต่เราต้องการเครือข่ายแบบผสมผสานที่สามารถใช้งานเครือข่ายได้ทั้งแบบ Wireless LAN (Hot spot), ข้อที่สี่ นักวิจัยต้องการให้รูปแบบการแปลงคลื่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งไม่สามารถทำได้ในโครงสร้างของ 3G และข้อสุดท้ายระบบ 4G เป็นระบบเครือข่ายแบบ IP digital packet ทำให้สามารถ ส่ง Voice และ Data ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยราคาการให้ บริการที่ถูกมาก และมีรูปแบบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 4G ได้มีการพัฒนาโดยจะเน้นเรื่องการรักษา ความปลอดภัย โดยการนำไบโอแมทริกซ์มาผสมผสาน ทำให้สามารถซื้อขายกันได้โดย ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ Mobile Internet และยังสามารถหักบัญชีเงินใน ธนาคาร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าหรือบริการได้ทันที ระบบไบโอ แมทริกซ์ จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะเห็นอย่าง ชัดเจนในยุคโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G นั่นคือในธุรกิจ Mobile Commerce นั่นเอง
โดยการพัฒนาการของระบบพัฒนาการรับส่งข้อมูลสามารถอธิบายได้ดังนี้ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G นั้น ได้ถูกออกแบบให้มีการรับส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณเสียงเป็นหลัก ส่วนระบบโทรศัพท์ที่ยุค 2.5G ได้มีการออกแบบให้สามารถรับส่งข้อมูลแบบแพ็คเกตได้ สำหรับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 3G ได้พัฒนาระบบให้สามารถรับรองการส่งข้อมูลแบบมัลติมีเดียและรองรับการให้ บริการต่างๆ ทั้งหมดของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคก่อนๆ ซึ่งการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 3G นี้ การรับส่งข้อมูลผ่านตัวกลาง โครงข่ายต้องมีความฉลาดมากขึ้น บริการต่างๆ ที่เปิดให้ผู้ใช้มีมากขึ้น รวมไปถึงสมรรถนะและคุณภาพของการบริการมีมากขึ้นภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะ สม เช่น ในขณะที่เครื่องโทรศัพท์ เคลื่อนที่ของผู้ใช้มีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ หรือ ไม่ได้อยู่ในรถยนต์ที่มีการเคลื่อนที่ขณะที่กำลังใช้บริการรับส่งข้อมูล มัลติมีเดียในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 4G โทรศัพท์เคลื่อนที่จะสามารถรับส่งข้อมูลที่มีอัตราการส่งข้อมูลที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้บริการในสภาวะแวดล้อมต่างๆ ซึ่งสามารถใช้บริการรับส่งข้อมูลต่างๆ ได้แม้อยู่ในรถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่ และมีอัตราการรับส่งข้อมูลขึ้นไปถึง 50-100 Mbps ขึ้นไป นอกจากนี้ ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 4G จะสนับสนุนการบริการต่างๆ ที่มีลักษณะการบริการทั้งแบบสมมาตรและแบบไม่สมมาตร ( Symmertrical / Asymmertrical Services ) การบริการแบบสมมาตร คือ ข้อมูลการรับส่งกันทั้งสองฝ่ายในปริมาณที่เท่าๆ กัน การบริการแบบไม่สมมาตร คือ ปริมาณการส่งข้อมูลของฝ่ายหนึ่งมีมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น การใช้บริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งส่วนมากเราจะรับข้อมูลมากกว่าส่งข้อมูล ในเรื่องคุณภาพของการบริการที่มีลักษณะแบบเวลาจริง ( Real time ) ก็จะดีขึ้น อีกทั้งยังสนับสนุนการบริการที่มีลักษณะแบบแพร่กระจายข้อมูลให้มี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในอนาคตจะมีคุณลักษณะการติดต่อสื่อสารเป็นแบบแนว นอน หมายความว่าระบบการเชื่อมต่อต่างๆ ระหว่างโครงข่ายและเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้ที่แตกต่างกันทาง เทคนิค เช่น ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ ระบบการเชื่อมต่อแบบบรอนแบนด์ ( Broadband )ไร้สาย ระบบLANไร้สาย ระบบการเชื่อมต่อระยะสั้น( Short - Range Connectivity ) และระบบที่ใช้สายต่างๆ จะถูกนำมาเชื่อมโยงให้อยู่แพลตฟอร์มเดียวกัน เพื่อให้การเชื่อมต่อระบบต่างๆ สามารถเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยเป้าหมายการพัฒนาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 4G ได้มีการพัฒนาโดยเน้นเรื่องการรักษาความปลอดภัย โดยการนำไบโอแมทริกซ์มาผสมผสาน ทำให้สามารถซื้อขายกันได้โดยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ Mobile Internet และยังสามารถหักบัญชีเงินในธนาคาร เพื่อเป็นค่าใช้ จ่ายสำหรับสินค้าหรือบริการได้ทันที ระบบไบโอแมทริกซ์ จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในธุรกิจในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะ เห็นอย่างชัดเจนในยุคโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G นั่นคือในธุรกิจ Mobile Commerce นั่นเอง
โดยที่ซอฟแวร์ที่เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดีย นับเป็นกลุ่มซอฟแวร์ที่จะถูกนำมาใช้ร่วมกับระบบ 4G โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลถูกพัฒนาให้สูงกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที ตัวอย่างเช่น คุณ อาจดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอมาไว้ในรถยนต์ ก่อนออกเดินทางไกล เพื่อว่าจะได้มีหนังดีๆ รวมทั้งข้อมูลการท่องเที่ยวไว้ดูบ้างในระหว่างเดินทางนั่น คือธุรกิจ Software house และ ธุรกิจเกี่ยวกับการสร้าง Content ในระดับ SME ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะมีโอกาสในธุรกิจสื่อมัลติมีเดียบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เป็นอย่างมาก ลองนึกภาพ การที่คุณสามารถใช้โทรศัพท์ เคลื่อนที่เพื่อซื้อน้ำอัดลมจากตู้ขายอัตโนมัติ ใช้โทรศัพท์เครื่องเดียวกันสั่งซื้ออัลบั้มเพลง ล่าสุดและดาวน์โหลลงเครื่องเล่น MP3 ได้โดยตรง หรือการที่ นักท่องเที่ยว สามารถใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อหาจองโรงแรมที่ใกล้ที่สุด และราคาเหมาะสมที่สุดขณะที่นั่งรถแท็กซี่
WiMax รวมกับ 3G กลายเป็น 4G โดยในปัจจุบันการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีก ทำให้นักวิเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมหลายกลุ่ม กล่าวกันถึงว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ของหลายประเทศที่ปัจจุบันครองตลาด ส่วนใหญ่ของประเทศหรือมีอำนาจเหนือตลาดคงจะไม่ยอมให้บริการ WiMax เกิดขึ้นในตลาดได้ง่ายๆ และในบางประเทศยังมีปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการ WiMax เช่น แผนเลขหมายแห่งชาติที่มีการจัดสรรความถี่ให้กับบริการ WiMax กฎ ระเบียบในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีการแข่งขันที่เป็นธรรม และความพร้อมในการลงทุนของผู้ให้บริการ เป็นต้น หากได้มีการรวมกันจริงๆแล้ว หลายฝ่ายยังคงมีความเชื่อว่า 3G คงจะไม่ถึงกับไปรวมอยู่ใต้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว เนื่องจาก 4G ควรจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ที่ระดับความเร็ว อิเธอร์เน็ต (เช่น 10 Mbps) และใช้งานร่วมกัน (integrated) ได้ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN – local area network) กับแวน (WAN – wide area network) แบบไร้สาย ด้วยการรวมเทคโนโลยี 3G และ WiMAX เข้าด้วยกันในเครื่องเดียวกัน โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 30 ไมล์ด้วยความเร็วประมาณ 10 Mbps แต่สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับบริการ WiMAX มี หลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปจากที่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ในระดับหนึ่งแล้ว เช่น ตัวมาตรฐานเองที่ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าใดนักการพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของโครงข่าย (ซึ่งรวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายด้วย)
การเคลื่อนที่ของลูกข่ายจากสถานีฐานหนึ่งไปยังอีกสถานีฐานหนึ่งโดยไม่มีปัญหาสายหลุดหรืออาการสัญญาณสะดุด เป็นต้น จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าในขณะนี้คงต้องรอให้มาตรฐานเทคโนโลยี WiMAX ผ่านกระบวนการ พัฒนาจนถึงขั้นเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ (mature) แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามนำเทคโนโลยี 3G และ WiMAX มาผสมผสานกันเป็น 4G หากกลุ่มที่พัฒนา 4G ไม่รีบชิงพัฒนา 4G หนีการรวมตัวกับ WiMAX ไปเสียก่อน
นักสังเกตการณ์อุตสาหกรรมว่า WiMAX น่าจะมีโอกาสแปลงกลายเป็นเทคโนโลยี 4G ที่มีความสมบูรณ์มากกว่า
เทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย 4G ที่พยายามพัฒนากันใหม่ขณะนี้ ได้แก่ กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยี ซีดีเอ็มเอ ( CDMA development group ) หรือ CDG ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา กำลังผลักดันความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลของเทคโนโลยี 1xEV-DO ให้เป็นไปตามที่คาดหวังว่าจะได้จากเทคโนโลยี 4Gโดยใน Revision C ของกลุ่ม ได้วางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีสายอากาศของ CDMA, TDM,OFDM และ MIMO (Multiple Input Multiple Output) หรือแม้แต่ SSDMA( Space Division Multiple Access ) เพื่อเพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลดให้สูงขึ้นถึง 280 Mbps โดยเรียกมาตรฐานใหม่นี้ว่า Ultra mobile Broadbandทางด้านบริษัท โดโคโมะ ของญี่ปุ่น และบริษัท ซัมซุง ของเกาหลี อยู่ในขั้นตอนของการทดสอบต้นแบบระบบสื่อสาร 4G ที่เรียกว่า Variable Spreading Factor Orthogonal Frequency and Code Division Multiplexing หรือ VSF-OFCDM ที่สามารถทำความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้ถึง 100 Mb/s ขณะเคลื่อนที่ และ 1 Gb/s ในขณะอยู่กับที่ (ITU เรียกสภาพนี้ว่า “nomadic”) โดยทั้งสองบริษัทวางแผนที่จะนำเครือข่ายดังกล่าวมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้เป็นครั้งแรกภายใน ค.ศ. 2010 อีกทางเลือกหนึ่งของการพัฒนา 4G ที่มีการเปิดเผยกันคือ โครงการที่เรียกว่า 3GPP LTE (Long Term Evolution) project ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากการริเริ่มขึ้นในโครงการ Third Generation Partnership (3GPP) Project เพื่อเพิ่มสมรรถนะของมาตรฐาน UMTS 3G
UMB (Ultra Mobile Broadband) เป็นชื่อของยี่ห้อสำหรับโครงการ 3GPP2 เพื่อปรับปรุงมาตรฐานโทรศัพท์ เคลื่อนที่ CDMA2000 สำหรับการใช้งานรุ่นใหม่ ระบบจะใช้เทคโนโลยีแบบOFDMA รวมกับเทคนิคของสายอากาศขั้นสูงเพื่อให้ได้อัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 280 Mbit/s เป้าหมายสำหรับ UMB เพื่อรวมการเพิ่มประสิทธิภาพของความจุของระบบและเพิ่มปริมาณ data rate และลดค่าใช้จ่ายและปรับปรุ่งบริการที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถสร้างวิธีการใช้งานในแบบใหม่ ๆโดยเทคโนโลยีจะให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการ IP พร้อม ๆ กันหรือที่เรียกว่า concurrent IP-base services ได้กับการใช้งานแบบเคลื่อนที่ มาตรฐานแบบ UMB นั้นคาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี 2007นี้ และนำออกสู่ตลาดในราวกลางปี 2009 และเพื่อให้ใช้งานได้หลากหลาย UMB จะรองรับการใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วยโดยยังสามารถใช้งานได้กับเทคโนโลยีอย่าง CDMA2000 1x และระบบ 1xEV-DO สำหรับชื่อวิธีการสื่อสารข้อมูลแบบ UMB หรือ Ultra Mobile Broadband นั้นมีเทคโนโลยีย่อยที่ประกอบด้วย Ultra หมายถึงเทคโนโลยีที่รวดเร็วและสามารถรองรับได้มากกว่าขนาดปกติของข้อมูลแบบ broadband และให้ปริมาณ throughput rates หรืออัตราการส่งผ่านข้อมูลที่ สามารถรองรับการใช้งานแบบเสียง Mobile จะหมายถึง platform ที่สามารถรองรับการให้บริการในแบบไร้สายได้หลาย ๆ บริการและสามารถใช้งานในแบบเคลื่อนที่ได้โดยที่แตกต่างไปจาก Wi-Fi และ WiMAX และ UWB ส่วนคำว่า Broadband จะเป็นความสามารถในการส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากที่ตั้งแต่ 100 เมกกะบิทต่อวินาทีหรือเป็นรุ่นใหม่ที่สามารถส่งได้มากกว่าระบบในแบบ 3G
ในทุกวันนี้จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากและถ้าคิดไปถึงอีก 5 ปีข้างหน้าก็เป็นไปได้ว่าคงจะมีอัตราการใช้งานมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่จะมีโทรศัพท์แบบพกพาใช้กัน ซึ่งนี่จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่เทคโนโลยีในยุค 4G ต้องมีการเตรียมการสำหรับรูปแบบการให้บริการที่เหมาะสมของผู้ใช้แต่ละบุคคลคือ จะเป็นการสร้างรูปแบบบริการต่างๆ ให้กับกลุ่มผู้ใช้แบบเฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า Personalized Service ทั้งนี้ เนื่องจากว่าเมื่อฐานผู้ใช้บริการกว้างขึ้นก็จะทำให้เกิดความหลากหลายของวัย อาชีพ รสนิยม วิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ให้บริการจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างรูปแบบบริการที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มให้ได้ ลองจินตนาการดูว่าถ้าผู้ใช้โทรศัพท์ยุค 4G ที่กำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับตารางเวลาภาพยนตร์จากโรงภาพยนตร์ที่ใกล้ที่สุดซึ่งผู้ใช้นั้นสามารถที่จะใช้โทรศัพท์มือถือทำการเชื่อมต่อกับระบบไร้สายภายนอกหลายๆ ระบบได้ ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยระบบพิกัดสถานที่ ( Global Positioning System, GPS) สำหรับระบุตำแหน่งของผู้ใช้ในการเลือกโรงภาพยนตร์ที่ใกล้ที่สุด และระบบแลนไร้สายที่สามารถเชื่อมต่อกับฮอตสปอตที่ใกล้ที่สุดในการโหลดตัวอย่างภาพยนตร์ และตารางฉายขึ้นมาดูรวมไปถึงระบบโทรศัพท์มือถือแบบ CDMA (Code-Division Multiple Access, CDMA) สำหรับการโทรศัพท์ไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับโรงภาพยนตร์นั้นๆ ตัวอย่างการใช้งานที่ได้กล่าวไปนั้นแท้จริงแล้วเป็นการใช้บริการต่างๆ จากหลากหลายผู้ให้บริการซึ่งแอพพลิเคชั่นแต่ละอย่างก็มีความแตกต่างทั้งในส่วนของระดับความปลอดภัยของข้อมูล การตั้งค่าของเครื่องลูกข่าย วิธีการคิดค่าใช้บริการซึ่งจริงๆ แล้วก็น่าจะเป็นการดีถ้าทุกสิ่งทุกอย่างนี้สามารถรวมกันได้ในแอพพลิเคชั่นของเทคโนโลยีในยุค 4G แต่ก็ต้องรอให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือที่สามารถสื่อสารได้กับทุกเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น GSM GPRS CDMA UMTS หรือ แลนไร้สาย ตลอดจนต้องมีส่วนเชื่อมต่อที่สามารถใช้งานได้กับ สมาร์ตการ์ดหรือการ์ดหน่วย ความจำต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คงต้องมีการใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุมการทำงานที่สามารถปรับให้เครื่องลูกข่ายสื่อสารกับทุกๆ เทคโนโลยีให้ได้
การโรมมิ่งระหว่างเครือข่ายผู้ให้บริการต่างๆ เช่น จากแลนไร้สายภายในอาคารสำนักงานออกไปสู่ระบบ GSM เมื่อก้าวออกนอกสำนักงานและผ่านระบบแลนไร้สายอีกครั้งเมื่อนั่งอยู่ในรถไฟฟ้าใต้ดินโดยทั้งหมดนี้จะต้องมีการกำหนดวิธีการส่งต่อ (hand-off) ระหว่างโครงข่ายต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยีเครือข่ายที่ได้มีการพัฒนามาช่วยในเรื่องนี้ก็คือ Mobile IPv6 (MIPv6) โดยนับได้ว่าเป็นมาตรฐานโพรโตคอลสำหรับ IP-Based ของโทรศัพท์ เคลื่อนที่ภายใต้หลักการมาตรฐานของ IP version 6 (IPv6) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีการใช้งานใช้เชิงพาณิชย์ภายในไม่เกิน 1-2 ปีข้างหน้า ส่วนระบบการเรียกเก็บค่าบริการของผู้ให้บริการที่หลากหลายนั้นก็ต้องมีการเตรียมการล่วง หน้า ซึ่งดูแล้วคงจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างในปัจจุบันที่จะคิดค่าบริการแบบเหมาจ่าย คิดตามจำนวนเวลาหรือปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่งเพราะเมื่อมีบริการมากมายจากหลากหลายผู้ให้บริการแล้วความซับซ้อนของระบบ Billing System ที่อยู่เบื้องหลังนั้นคงจะเป็นเรื่องปวดหัวไม่เบาสำหรับนักการตลาด,นักพัฒนาโปรแกรม ที่จะต้องพัฒนาให้ได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน

ทั้งนี้ เนื่องจากว่าผู้ใช้บริการไม่ได้ผูกติดอยู่กับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งอย่างในปัจจุบันแต่จะเป็นลูกค้าของผู้ให้บริการทุกรายที่รวมอยู่ในระบบ 4G และแนวทางหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือต้องมีบริษัทกลางที่ทำหน้าที่เป็น Broker ในการรับชำระค่าใช้บริการและนำไปแบ่งจ่ายให้กับผู้ให้บริการแต่ละรายต่อไป ซึ่งก็คงจะคล้ายๆ กับบริษัท Broker ในการซื้อ-ขายหุ้นในปัจจุบันนั่นเอง สำหรับอัตราค่าใช้บริการนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความซับซ้อนและอ่อน ไหวมากเพราะจะต้องเหมาะสมในด้านธุรกิจ การตลาดและระบบ Billing System ที่จะต้องมีความคล่องตัวมากพอในการปรับแต่งค่าต่างๆ ตามโปรโมชั่นและแผนการตลาดของผู้ให้บริการแต่ละราย นอกจากนี้ยังมีอีกแนวความคิดหนึ่งที่เทคโนโลยีในยุค 4G น่าจะมีออกมาให้บริการได้ซึ่งนั่นก็คือ Personal Mobility ที่การสื่อสารไม่ได้ยึดติดอยู่กับอุปกรณ์ PDA โน้ตบุ๊ก หรือโทรศัพท์มือถือแต่จะเป็นการติดตามตัวผู้ใช้บริการเอง เช่น ถ้ามีการส่งวิดีโอเมล์ไปให้ผู้รับตัวระบบจะตรวจสอบว่าในเวลานั้นๆ ผู้ใช้กำลังทำอะไรและอยู่ที่ใดแล้วจึงค่อยส่งวิดีโอเมล์นั้นไปยังอุปกรณ์ที่กำลังทำงานอยู่ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่ใดหรือกำลังใช้อุปกรณ์อะไรอยู่ก็ตามข้อความก็จะสามารถส่งถึงผู้รับได้อย่างถูกต้อง ส่วนระบบ Billing System และบริการติดตามผู้ใช้ Personal Mobility ที่จะต้องอาศัยความสามารถของซอฟต์แวร์ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกชิ้นในระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถบรรลุจุดประสงค์ในการสร้างบริการรูปแบบใหม่ๆ ต่อไปได้
ในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G ของ GSM กับ CDMA นั้น ยังคงแข่งขันกันอยู่ต่อไป กล่าวคือ GSM จะพัฒนาสู่ 4G โดยใช้รูปแบบการเข้าถึง( access type )เป็น UMTS LTE (Universal Mobile Telephone System – Long term Evaluation) ซึ่งคาดว่าจะสามารถทำความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ได้ที่ 100 mbps / 50 mbps.ในขณะที่ CDMA ใช้รูปแบบการเข้าถึงเป็น CDMA EV-DO Rev.C ( กล่าวคือ เป็น UMB หรือ Ultra-mobile broadband) และมีความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ที่ 129 mbps / 75.6 mbps เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก คือสามารถทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกัน โดยที่ญี่ปุ่นนั้นมีเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G กันเร็วเหลือเกิน สาเหตุที่ญี่ปุ่นก้าวกระโดดไปสู่ยุค 4G อย่างรวดเร็ว คือ ดิจิตอลคอนเทนต์หรือการบริการด้านเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงเรียกเข้า (ริงโทน) ภาพหน้าจอ(วอลเปเปอร์)เสียงรอสายรวมถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุค 4Gเพื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากๆดังนั้น การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3G ก่อนคู่แข่ง น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด
โดยข้อเสียที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่ หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps
ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือมีความสำคัญกับมนุษย์อย่างมาก ทำให้โทรศัพท์มือถือต้องมีวิวัฒนาการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีสื่อสารที่ใช้บนโทรศัพท์มือถือขณะนี้ได้เข้าสู่ยุค 3G แต่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ยังคงอิงเทคโนโลยีของ 2.5G อยู่ แต่หากมองดูประเทศที่พัฒนาแล้วจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสื่อสารที่ใช้บนโทรศัพท์มือถือได้ก้าวไปสู่ระบบสื่อสารยุค 4G แล้ว ในปัจจุบันได้พัฒนาความสามารถในการสื่อสารข้อมูลจาก Improved Mobile Telephone Service (IMTS) เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานของ Cellular Phone ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันจากยุคโทรศัพท์อนาล็อกไปสู่โทรศัพท์ดิจิตอล
โทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับยุคที่สี่ (Fourth-generation telephony) หรือ 4จี (4G) เป็นสิ่งที่บรรดานักวิจัยด้านโทรคมนาคม ออกมารับประกันว่า จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราก้าวสู่ยุคแห่งอนาคตอย่างแท้จริงได้ โดยที่ภาวะผันผวนของตลาดหุ้น หรือแม้แต่ต้นทุนการวางเครือข่ายโทรคมนาคมจะแพงลิบลิ่ว หรือเรียกได้ว่า ยากต่อการคืนทุน หรือสร้างกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำก็ไม่อาจขัดขวางได้ แน่นอนว่า คงยังไม่มีใครในวงการ สามารถให้รายละเอียดใดๆ ที่แน่ชัดสำหรับคำนิยามของเทคโนโลยีดังกล่าว ที่มักได้ยินบ่อยครั้งขึ้นในงานสัมมนาระดับภูมิภาคเกี่ยวกับเทคโนโลยียุคใหม่ (New Age) ที่จัดขึ้นหลายต่อหลายงาน แต่กระนั้น นักวิจัย รวมถึงผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมบางรายถึงกับกล่าวว่า พวกเขาจะใช้เทคโนโลยีนี้ เพื่อปลุกกระแสของการเป็นโลกแห่งการสื่อสารไร้สายรุ่นใหม่อย่างแท้จริงยิ่งกว่าเทคโนโลยี 3จี (3G) ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์โปรแกรมต่างๆ ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่อาจคาดหมายได้เลยทีเดียว "อย่างไรก็ตาม แม้ยังไม่มีความชัดเจนที่แน่นอนด้านเทคนิคสำหรับเทคโนโลยี 4จี แต่ก็เป็นหัวข้องานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่มีระยะเวลาศึกษาไปจนถึงปี พ.ศ.2553" นายฮาคาน อีริคสัน หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาของเทเลฟอน เอบี แอล.เอ็ม อีริคสัน กล่าว ขณะที่นายออสเทน มากิทาโล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของเทเลีย โมบาย (Telia Mobile ) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแถบสแกนดิเนเวียมากกว่าหนึ่งทศวรรษ กล่าวเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยี 4จี เป็นหนึ่งในระบบที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สายอันหลากหลายได้ทั้งหมด เส้นทางด่วนสายใหม่สำหรับข้อมูลกระนั้น หากกล่าวโดยย่ออาจเรียกได้ว่า เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ( Three-dimensional ) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที อยู่หลายขุมมากยิ่งกว่านั้น บรรดานักวิจัยอ้างว่า บริการบางอย่าง อาทิ การเชื่อมต่อวิดีโอไร้สายแบบเรียลไทม์ หรือ ณ เวลาจริง จะไม่แพงอย่างที่คิดด้วยเทคโนโลยี 4G นี้ขณะที่ ปัจจุบัน เทคโนโลยี 3จี ซึ่งเป็นระบบที่หลายบริษัทเพิ่งทุ่มเงินเข้าซื้อสิทธิในการให้บริการดังกล่าวไปเป็นมูลค่านับหลายพันล้านดอลลาร์คงยากที่จะเปิดให้บริการในอัตราถูก และยังไม่อาจยืนยันได้ว่า ระบบจะสามารถทำงานได้โดยไม่เกิดปัญหาใดๆ ลำดับขั้นการพัฒนาก่อนเป็น 4G
ความคืบหน้าการใช้งานของเทคโนโลยีระบบ 4G ในปัจจุบัน พบว่าประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ ได้มีการเปิดตัว 4G โดยใช้เทคโนโลยี LTE , ในอเมริกา
สปรินต์ได้เรียกระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้ WiMax ว่า 4G โดยมีความเร็วสูงสุดที่ 10 Mbit/s , ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TeliaSonera จากสวีเดน ได้เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดให้บริกาโทรศัพท์มือถือรุ่นที่ 4 หรือ4G ที่ใช้เทคโนโลยี LTEแล้ว โดยเริ่มจากกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน และกรุงออสโลประเทศนอร์เวย์ซึ่งบริษัทได้กล่าวว่า จะเริ่มให้ลูกค้าได้ใช้เครือข่ายนำร่องนี้ในไตรมาสแรกของปี 2010
ซัมซุงได้มีการเปิดตัวมือถือ 4G ครั้งแรกในโลก ซัมซุงเผยว่า เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เทคโนโลยี 4G นี้เป็นเวอร์ชั่นอัพเกรดจากแพลตฟอร์มการสื่อสารไร้สายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพิ่มประสิทธิภาพให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดเพลงไฟล์ MP3 จำนวน 100 เพลงในเวลาน้อยกว่า 3 วินาทีเท่านั้น แม้ว่าผู้ใช้กำลังใช้งานฟีเจอร์อื่นอยู่ด้วยก็ตาม หากเทียบประสิทธิภาพกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแล้ว เทคโนโลยี 4G จะใช้เวลาในการรับ-ส่งข้อมูลและคอนเทนต์อื่นๆ ได้เร็วกว่า อีกทั้งแทบจะไม่มีปัญหาเรื่องรอยต่อและจุดอับของสัญญาณมาเป็นอุปสรรค และด้วยเทค โนโลยีนี้ จะทำให้ผู้ใช้สามารถรับชมรายการทีวีคุณภาพความละเอียดสูงผ่านโทรศัพท์มือถือได้หลากหลายช่องด้วย
ขณะนี้นอร์เทลได้ทำการค้นคว้าวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในการสนับสนุนการสื่อสารยุคใหม่ที่จะแสดงลักษณะพิเศษโดยระบบการเชื่อมต่อระดับสูง (Hyperconnectivity) ที่สามารถทำให้ทุกสิ่งที่เราต้องการสื่อสารสามารถส่งต่อและเชื่อมต่อเข้าด้วยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคล, บุคคลกับอุปกรณ์ หรือระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์ ภายใต้แนวคิดดังกล่าว นอร์เทลได้เพิ่มจำนวนพันธมิตรที่ทำการวิจัยร่วมกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ เช่น มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ประเทศแคนาดา, มหาวิทยาลัย เท็กซัส วิทยาเขตออสติน ประเทศสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยแห่งไต้หวัน (NTU) เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและและการสนับสนุนเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายระบบ 4G นอกจากนั้น นอร์เทลยังแต่งตั้งพันธมิตรใหม่ คือ มีร่า เน็ทเวิร์กส (Mera Networks) ประเทศรัสเซีย และ Technische Universitaet Ilmenau ประเทศเยอรมนี เนื่องจากนอร์เทลตระหนักว่ามหาวิทยาลัยสามารถช่วยทำให้ประสิทธิภาพของโซลูชั่นบรอดแบนด์ไร้สายระบบ 4G, ไวแมกซ์แบบไร้สาย (Mobile WiMAX) ตลอดจน Long Term Evolution (LTE) และ Ultra Mobile Broadband (UMB) แบบพื้นฐานของนอร์เทลดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดเวลาในการทำการตลาดอีกด้วย

ทั้งนี้ นอร์เทลได้ขยายขอบเขตความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ร่วมกับคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และการวิจัยวิศวกรรมแห่งประเทศแคนาดา(Natural Sciences and Engineering Research Council of Canada:NSERC) ในพ.ศ. 2549 ซึ่งนอร์เทลได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มการส่งผ่านรหัสและสัญญาณ (Coding and Signal Transmission: CST) ของมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู เพื่อที่จะเพิ่มความสามารถของเครือข่ายไร้สายผ่านเทคนิคการส่งผ่านแบบหลายผู้ใช้ที่ทันสมัย โดยนอร์เทลใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการวิจัยของมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูเพื่อจะทำให้นักศึกษาและคณาจารย์ทำการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีไร้สายสำหรับรุ่นต่อๆไป อันถือเป็นส่วนหนึ่งของการขยายขอบเขตการเป็นพันธมิตร การที่ได้เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนด้านเครือข่ายไร้สายและกลุ่มการสื่อสาร (Wireless Networking and Communications Group: WNCG) ให้กับมหาวิทยาลัยเท็กซัส วิทยาเขตออสติน จึงทำให้นอร์เทลได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีบรอดแบนด์ระบบ 4G และระบบ MIMO-OFDM ทั้งนี้ ระบบ MIMO และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานช่องสัญญาณ ความครอบคลุมของเครือข่าย และกำลังส่งของสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้เพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ผู้ให้บริการในการให้บริการแอพพลิเคชั่นด้านข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงขึ้น อันรวมถึงไฟล์วีดีโอสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เกม และการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงแบบอื่นๆ นอกจากนั้น นอร์เทลและมหาวิทยาลัยเท็กซัสยังได้วางแผนที่จะพัฒนาระบบเทคโนโลยี MIMO ที่มีหลายผู้ใช้และถ่ายทอดสัญญาณในการขยายความครอบคลุมของสถานีฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อที่จะทำให้ใช้ระบบ 4G นี้เป็นบรอดแบนด์อย่างแท้จริงที่สามารถจะใช้งานได้ในทุกที่ด้วยการขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมถึงพื้นที่เล็กๆเพื่อรับรองถึงความสามารถของแบนวิธความเร็วสูงจากการเน้นการส่งผ่านสัญญาณผ่านสถานีย่อยมากกว่าสถานีฐานที่มีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนั้น นอร์เทลได้ผนึกกำลังกับสถาบันการศึกษาเพื่อการบริหารและคณะวิศวกรรมไฟฟ้า ของมหาวิทยาลัยแห่งไต้หวัน(NTU) ในการทดลองใช้บริการบรอดแบนด์แบบ WiMAX ในปี 2549 ซึ่งปัจจุบันทีมงานของนอร์เทลกำลังทำการวิจัยร่วมกับคณะวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งไต้หวันในการทดสอบ WiMAX ด้านการทำกิจกรรมต่างๆภายใต้คอนเซ็ปต์ของบริการ และการทดสอบการเชื่อมต่อระหว่างบุคคล ข้อมูล และระบบ ที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถมั่นใจได้ถึงความสามารถของระบบปฏิบัติการที่ให้บริการได้จริง ตลอดจนการใช้งาน WiMAX ได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมพื้นที่ในวงกว้างได้ ทั้งนี้ การทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งไต้หวันจะช่วยในการส่งความสามารถผ่านระบบ WiMAX ภายใต้ระบบ 4G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มัลติมีเดีย วิดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์ ที่ประกอบด้วยแอพพลิเคชั่นด้านเสียง วิดีโอและอินสแตนท์ เมสเสจจิ้ง และการใช้งานที่สามารถเคลื่อนย้ายยังสถานที่ต่างๆได้ และในขณะเดียวกันทางนอร์เทลยังร่วมมือกับเมร่า เน็ทเวิร์ก ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการวิจัยและพัฒนาการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซีย และ Technische Universitaet Ilmenau ในประเทศเยอรมนี เพื่อที่จะพัฒนาการผสม ผสานระหว่างการประมวลผลทางอากาศ และเทคโนโลยี MIMO ซึ่งความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีวิทยุไร้สายจะช่วยพัฒนาความสามารถของเครือข่าย และเพิ่มความสามารถโดยใช้แหล่งที่มาของช่องสัญญาณให้สามารถใช้ซ้ำได้มากกว่าระบบธรรมดาถึง 4 เท่า ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์ไร้สาย และทำให้สื่อผู้ให้บริการสามารถส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูงเพิ่มมากขึ้นและมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย อันรวมถึง วีดีโอ และ การบริการมัลติมีเดียต่างๆ นอร์เทลลงทุนด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีกว่า 50 ชิ้นด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 20 แห่ง และทำการวิจัยรอบโลกเพื่อส่งเสริมให้การสื่อสารยุคใหม่ที่สิ่งของและข้อมูลเชื่อมเข้าด้วยกันด้วยอย่างชาญฉลาด แพร่หลายในระบบบรอดแบนด์ไร้สาย
แม้ว่ายักษ์ใหญ่ในวงการโทรคมอย่างซัมซุงจะเดินหน้าสร้างกระแส 4G ให้ชาวโลกตื่นตัวอยู่เนืองๆ แต่ดูพอดกลับระบุว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี 4G ยังไม่ใช่เรื่องจำเป็นในขณะนี้ ยืนยันว่าการเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี 3G และ 3.5G เป็นเรื่องสำคัญมากกว่า โดยล่าสุดเปิดตัวพีดีเอโฟน 3.5G ชิมลางตลาดไทยแล้ว กูรูพีดีเอไทยให้ความเห็นว่าคุณสมบัติสมราคา แต่ควรระวังไม่ให้ล็อตการผลิตที่มีปัญหาเข้ามาวางจำหน่ายในประเทศไทย วินสตัน โกห์ (Winston Goh) ผู้จัดการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ ดูพอดอินเทอร์เนชันแนล ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่าดูพอดยังไม่มีการเริ่มต้นทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี 4G เพราะทิศทางของเทคโนโลยี 4G ยังไม่ชัดเจน ต่างจากเทคโนโลยี 3.5G ซึ่งเป็นอนาคตของ 3G ที่เห็นทิศทางการเติบโตเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนกว่า
เรายังไม่รู้อนาคต 4G ยังบอกไม่ได้ว่าจะออกมาเมื่อไหร่ การซัปพอร์ตใดๆก็ไม่มี ขณะที่ 3.5G บางประเทศในยุโรปเริ่มมีใช้แล้ว ดูพอดจะยืดความต้องการของตลาด เป็นหลักในการอัปเดทผลิตภัณฑ์ใหม่เท่านั้น" โกห์กล่าวพร้อมย้ำว่า 3.5G คือความต้องการของตลาดที่ดูพอดมอง เพราะมีความพร้อมของปัจจัยร่วมมากกว่า 4G เช่นความพร้อมของเครือข่าย ผู้ให้บริการ และการซัปพอร์ตอื่นๆ
จากบทความข้างต้นทำให้เราทราบว่าทำไมได้มีการอยากใช้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก โดยสรุปเป็นคำตอบ ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้
1. มีสนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย
และ เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น
2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า โดยสามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
3. ใช้งานได้ทั่วโลก Global mobility และ service portability
4. ค่าใช้จ่ายลดลง

5. มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย
จากบทความข้างต้นนี้ก็น่าที่จะสรุปได้ว่าการพัฒนาไปสู่เทคโนโลยีเครือข่ายในยุค 4G นั้นต้องมีการศึกษาและพัฒนาในด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มใหญ่คือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือที่จะต้องมีความสามารถในการเลือกสื่อสารกับระบบไร้สายต่าง ได้ และสำหรับในส่วนที่สองคือ ด้านระบบที่จะต้องมีการส่งต่อการให้บริการ (hand-off) ระหว่างโครงข่ายตลอดจนสามารถรักษาระดับคุณภาพของแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ไม่ว่าจะมีการส่งต่อการให้บริการไปอย่างไร และจากบทความเทคโนโลยี 4G คงจะยังไม่เข้ามามีบทบาทในตลาดไร้สายในระยะเวลา 4 - 5 ปีข้างหน้า รวมทั้งเมื่อต้นปีนี้ (พ.ศ. 2550) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่ ก็ยังคงเลือกใช้เทคโนโลยีที่จะต้องลงทุนไปอีกอย่างน้อย 15 ปี คือ เทคโนโลยี GSM เดิม หรือเทคโนโลยี 3G ใหม่ๆ เช่น CDMA2000 1xEV-DO, WCDMA และ HSDPA ซึ่งให้ network capacity มากกว่า และมีค่าใช้จ่ายในการให้บริการมัลติมีเดียที่ต่ำกว่าเช่นเดียวกับการสื่อสารข้อมูลบรอดแบนด์ อีกด้วยเห็นทีว่าเราคงต้องรอไปจนกว่า ITU และบรรดากลุ่มที่จัดทำมาตรฐานแห่งชาติ (เช่น กลุ่ม 3GPP)และสมาคม 3GPP2 จะพัฒนามาตรฐาน 4G ได้แล้วเสร็จสมบูรณ์อย่างเป็นทางการแนวโน้มของเทคโนโลยี 4G ตามบทความข้างต้นได้ชี้ชัดว่า ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและเชื่อว่า จะเป็นลักษณะการเติบโตแบบ “ก้าวกระโดด” จากการพัฒนาเทคโนโลยี และจะส่งผลให้มีเม็ดเงินทุ่มไปวิจัยพัฒนา และแข่งขันทางการตลาดกันที่จะพัฒนาทั้งเทคโนโลยีแอบพริเคชั่นให้ตรงตามที่ผู้บริโภคตามต้องการทั่วโลก ซึ่งผู้จัดทำหวังว่าเทคโนโลยีที่นำเสนอข้างต้นนั้น จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจในบทความ-เนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีของ 4G ระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 4 โดยมี การพัฒนาไปสู่มาตรฐาน ความโดดเด่นของ 4G, โทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 4G ประโยชน์ที่จะได้รับ, แนวโน้มการใช้โทรศัพท์มือถือในอนาคต เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีของ 4G ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
------------------------------------------------------------------------------------------------
Referrents

http://www.marinerthai.com/forum/index.php?topic=1322.0
http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24248
http://www.thaiinternetwork.com/content/detail.php?id=0211
http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=6900.0
http://ngnforum.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=64&Itemid=48
http://www.easyzonecorp.net/network/view.php?ID=193 ชื่อผู้เขียน : พงษ์ศักดิ์ สุสัมพันธ์ไพบูลย์http://edu.msu.ac.th/seminar/index.php?action=printpage;topic=331.0
http://www.hi5thai.com/redirect.php?tid=106744&goto=lastpost&sid=Yrd23U
http://www.bmwsociety.com/board/showboard.asp?id=112681
http://www.easyzonecorp.net/network/view.php?ID=194
http://www.chumchon.co.cc/index.php?topic=39.0
http://www.adslthailand.com/forum/viewtopic.php?t=70852
http://www.mrpalm.com/board/view_board.php?id=69789
http://e-learning.yru.ac.th/yrublog/wp-content/uploads/2007/10/4g.pdf

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น