วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย 3G ในอนาคต


ITM 640 Internet and Communication Technologies

น.ส.ชนกกุล  ทัศนเอกจิต ID: ITM 0262

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย 3G ในอนาคต

 

ในโลกของการสื่อสารโทรคมนาคม คำว่า 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายในยุคที่ 3 เพื่อให้บริการ Mobile Broadband ซึ่งสามารถรองรับการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ ซึ่งเริ่มเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2001 ในประเทศญี่ปุ่นด้วยผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่อย่าง NTT DoCoMo และตามมาด้วยผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายอื่นๆอีกมากมายทั่วโลกโดยภาพรวมของตลาด 3G โลก จำนวนผู้ใช้ 3G (สิ้นไตรมาสที่ 2 2009) มีจำนวนทั้งสิ้น 506 ล้านราย แบ่งออกเป็น ผู้ใช้ 3G ในมาตรฐาน WCDMA-HSPA 378.1 ล้านราย (แหล่งที่มา: Informa Telecoms and Media) ซึ่งกว่า 95% ของผู้ให้บริการ WCDMA ได้อัพเกรดโครงข่ายเป็น HSPA แล้ว ในขณะที่ผู้ใช้ 3G ในมาตรฐาน CDMA1x EV-DO มีอีกประมาณ 127.9 ล้านราย (แหล่งที่มา: CDG org)

สถิติการเติบโตของผู้ใช้ 3G ทั้งมาตรฐาน WCDMA และ CDMA1X EV-DO ทั่วโลกตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2008 ถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2009

โดยสามารถแบ่งการเติบโตออกเป็นแต่ละภูมิภาคระหว่างเทคโนโลยีสาย WCDMA-HSPA และ CDMA1x EV-DO ได้ดังนี้

สถิติการเติบโตของผู้ใช้ 3Gในมาตรฐาน WCDMA ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2008 ถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2009 โดยแบ่งตามแต่ละทวีป ( แหล่งที่มา Informa Telecoms and Media )

สถิติการเติบโตของผู้ใช้ 3G ในมาตรฐาน CDMA2000 1xEV-DO ตั้งแต่มิถุนายน ปี 2002 ถึง มิถุนายน ปี 2009 โดยแบ่งตามแต่ละทวีป (แหล่งที่มา CDG.org)

ยุค 3G เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้ โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่าได้ และเรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS) โดยมุ่งหวังว่า การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย สามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น จากคอมพิวเตอร์ จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคงใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็นแบบ CDMA ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณเสียงได้มากกว่า แต่ใช้แบบแถบกว้าง(wideband) ในระบบนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า WCDMA  3G คือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการให้บริการด้านระบบเสียงที่ดีขึ้น มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า เพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วสูง พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทบางบริษัทแยกการพัฒนาในรุ่น 3G เป็นแบบ CDMA เช่นกัน แต่เรียกว่า CDMA2000 กลุ่มบริษัทนี้พัฒนารากฐานมาจาก IS95 ซึ่งใช้ในสหรัฐอเมริกา และยังขยายรูปแบบเป็นการรับส่งในช่องสัญญาณที่ได้อัตราการรับส่งสูง (HDR-High Data Rate) การพัฒนาในยุคที่สามนี้ยังต้องการความเกี่ยวโยงกับการใช้งานร่วมในเทคโนโลยีเก่าอีกด้วย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงให้ใช้งานได้ทั้งแบบ 1G และ 2G โดยเรียกรูปแบบใหม่เพื่อการส่งเป็นแพ็กเก็ตว่า GPRS-General Packet Radio Service ซึ่งส่งด้วยอัตราความเร็วตั้งแต่ 9.06, 13.4, 15.6 และ 21.4 กิโลบิตต่อวินาที โดยในการพัฒนาต่อจาก GPRS ให้เป็นระบบ 3G เรียกระบบใหม่ว่า EDGE-Enhanced Data Rate for GSM Evolution ในยุค 3G นี้ เน้นการรับส่งแบบแพ็กเก็ต และต้องขยายความเร็วของการรับส่งให้สูงขึ้น โดยสามารถส่งรับด้วยความเร็วข้อมูล 384 กิโลบิตต่อวินาที เมื่อผู้ใช้กำลังเคลื่อนที่ และหากอยู่กับที่จะส่งรับได้ด้วยอัตราความเร็วถึง 2 เมกะบิตต่อวินาที

ตารางที่ 1 แสดงการพัฒนาของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่

ระบบ

ปีที่เริ่ม

โปรโตคอลเข้าช่องสัญญาณ

ความถี่

การบริการ

AMPS

1983

FDMA

824-894

เสียง, ข้อมูลผ่านโมเด็ม

GSM

1990

TDMA/FDMA

890-960

เสียง, ข้อมูล, เพ็จจิ้ง

IS54

1991

TDMA/FDMA

824-894

เสียง, ข้อมูล, เพ็จจิ้ง

IS95

1993

CDMA

824-894
1850-1980

เสียง, ข้อมูล, เพ็จจิ้ง

DCS1900

1994

TDMA/FDMA

1840-1990

เสียง, ข้อมูล, เพ็จจิ้ง

WCMA
(CDMA2000)
IMT2000

หลังปี 2000

WCDMA

1885-2025
2100-2200

มัลติมีเดีย, วิดีโอ, เสียง, ข้อมูล

 

 

 

 

 

 

สถานการณ์ในตลาดเอเชีย
เริ่มต้นที่ตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอย่างประเทศจีน ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเพิ่งได้รับใบอนุญาตบริการ 3G ตั้งแต่เดือนมกราคม 2009 ที่ผ่านมา โดย China Mobile ผู้ให้บริการอันดับหนึ่งของจีน ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายมาตรฐาน TD-SCDMA ในขณะที่ China Unicom ได้รับใบอนุญาตให้บริการมาตรฐาน WCDMA และ China Telecom ได้รับใบอนุญาตมาตรฐาน 3G EV-DO
ประเทศจีนเป็นประเทศที่ถูกจับตามองเป็นอย่างสูงอันเนื่องมาจากมีจำนวนประชากรนับพันล้านคน ทำให้มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้ขอใช้บริการ 3G มากกว่า 500 ล้านรายภายใน 5 ปีข้างหน้า

กลับมามองตลาดเพื่อนบ้านของไทย ประเทศกัมพูชาซึ่งมีการให้บริการ 3G ตั้งแต่ปี 2006 และในขณะนี้มีผู้ให้บริการ 3G ถึง 4 ราย แต่กลับมีผู้ใช้งานจำนวนน้อยมากเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ไม่สามารถจ่ายเงิน ซื้อโทรศัพท์มือถือมาใช้งานได้ เพราะมีค่าใช้บริการที่สูง อีกทั้งเครื่องโทรศัพท์มือถือก็ยังมีราคาแพงสำหรับประชากรในประเทศอีกด้วย ด้านบ้านพี่เมืองน้องอย่างลาว ก็เพิ่งเปิดให้บริการ 3G ไปเมื่อกลางเดือนตุลาคม 2008 ที่ผ่านมา โดยผู้ให้บริการที่ชื่อว่า LaoTel

ในขณะที่ประเทศเวียดนามมีผู้ให้บริการได้รับใบอนุญาต และเปิดให้บริการเป็นทางการแล้วในเดือนตุลาคม ที่ผ่านมารายแรกคือ Vinaphone ซึ่งเป็นของรัฐวิสาหกิจโทรคมนาคมและไปรษณีย์ โดยเริ่มจากการให้บริการในภาคเหนือของประเทศ (รวมถึงฮานอยด้วย) ในขณะที่ผู้ให้บริการรายอื่นๆ อันได้แก่ Viettel และ MobiPhone ออกมาประกาศว่าจะเปิดให้ทันภายในเดือนธันวาคมปีนี้ ส่วน EVN Telecom ซึ่งเป็นของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าเวียดนาม ก็มีแผนจะเปิดให้บริการให้ทันภายในเดือน เมษายน 2010 อย่างไรก็ตามทางผู้ให้บริการโทรคมนาคมของเวียดนามยังออกมากล่าวว่าปัจจุบันยังคงเริ่มต้นที่การให้บริการด้านบันเทิงเป็นหลัก ส่วนบริการที่สลับซับซ้อนยังคงต้องมีการลงทุนใช้เทคโนโลยีระดับสูงเพิ่มเติมในอนาคต

Digi
หนึ่งในผู้ให้บริการในประเทศมาเลเซียได้เปิดบริการ 3G ในช่วงกลางปี 2009 ที่ผ่านมา ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 86 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามหลังผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดอันดับ1 อย่าง Maxis ที่เปิดให้บริการ 3G ตั้งแต่ปี 2006 และมีผู้ใช้บริการ 3G ถึง 1.3 ล้านคนด้วยอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงมากถึง 3 เท่าเมื่อเทียบจากปี 2007

ในฟิลิปปินส์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการ 3G แล้วมีจำนวน 4 ราย และเป็นประเทศที่มีการใช้งานด้านข้อมูลค่อนข้างสูง และผู้ใช้บริการนิยมส่งข้อความสั้นกันมากกว่าการโทรสนทนากันตามปกติ ซึ่งรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเบอร์ด้านบริการข้อมูลเป็นสัดส่วนสูงถึง 55% ของรายได้จากบริการทั้งหมด

สุดท้ายมาดูที่อินเดีย ซึ่งผู้ให้บริการโทรคมนาคมในอินเดียต่างกำลังรอใบอนุญาต 3G เช่นกัน แต่ด้วยจำนวนประชากรเป็นอันดับสองของโลกและจำนวนผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตไร้สายผ่านมือถือในปัจจุบันถึง 63 ล้านคน (กุมภาพันธ์ 2009) และกว่า 16 ล้านคนที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายเป็นประจำทุกวัน จากจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งหมดสูงกว่า 375 ล้านคน คาดว่าอินเดียจะเป็นอีกตลาดหนึ่งที่น่าจับตามองไม่แพ้จีนอย่างแน่นอน

กลับมาที่ประเทศไทย สถิติข้อมูลล่าสุดมีอัตราผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอยู่ที่ประมาณ 16.1 ล้านคน หรือคิดเป็นแค่ประมาณ 24.4% จากจำนวนประชากรทั้งหมด (แหล่งที่มา: internetworldstats) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2008 ที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 13.4 ล้านคน หรือ โดยแนวโน้มของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตแบบ Dialup (Narrowband) มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราผู้ใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband) ก็กำลังเพิ่มขึ้นตามรูปแบบคอนเทนต์ที่เปลี่ยนไปในปัจุบัน   แต่เมื่อเทียบอัตราผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของไทยกับประเทศอื่นๆเพื่อนบ้านต้องถือว่ายังน้อยมาก อาทิเช่น สิงคโปร์ มีอัตราผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสูงถึง 72.4% มาเลเซีย สูงถึง 65.7% บรูไน สูงถึง 55.9% และ เวียดนาม อยู่ที่ 24.8%   จากช่องว่างของประชากรอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยทำให้ยังมีโอกาสในการให้บริการ 3G อยู่อีกมากไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ใช้ Narrow band หรือแม้กระทั่งผู้ที่ยังไม่เคยใช้อินเตอร์เน็ตเลย ซึ่ง 3G จะช่วยให้ ประชากรทั้งประเทศมีโอกาสเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารต่างๆบน Internet ในอัตราความเร็วสูงได้
การประยุกต์ใช้ 3G ในรูปแบบต่างๆ
3G
ไม่ใช่เพียงแค่การคุยกันผ่านวีดีโอหลายครั้งเมื่อพูดถึงเทคโนโลยี 3G อาจยังทำให้หลายคนคิดว่า คือการสื่อสารคุยกับผ่านวีดีโอ (Video Call) เป็นหลักและทำให้ผู้ใช้หลายรายเกิดความกังวลในส่วนของความเป็นส่วนตัว จึงได้มีผู้คิดนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบอื่นหลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อ Interactive Voice Response (IVR) ซึ่งเป็นระบบเสียงตอบรับอัตโนมัติเวลาที่ต้องการรับฟังข้อมูลต่างๆ, ติดต่อ Call Center หรือแม้กระทั่ง เป็นช่องทางในการดาวน์โหลดคอนเทนต์ สำหรับยุค 3G ลักษณะการให้บริการจะเพิ่มรูปแบบของวีดีโอคอนเทนต์เข้าไป โดยเรียกว่า Interactive Voice and Video Response (IVVR) หรือ Video Portal ลักษณะการใช้งานคือโทรออกเสมือน Video Call ทั่วไป แต่เป็นการโทรเข้าหาระบบแทนที่จะเป็นบุคคล และมีเมนูมาให้เลือกกดไปตามเมนูต่างๆเช่นเดียวกับ IVR แต่ประสบการณ์การใช้งาน (User Experience) จะแตกต่างกันตรงที่จะแสดงออกมาเป็นเมนูภาพบนหน้าจอให้เลือกแทน
บริการดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับหลายธุรกิจ อาทิเช่น การโทรเข้าไปจองตั๋วภาพยนต์ ก็สามารถดูตำแหน่งของที่นั่งผ่านหน้าจอโทรศัพท์ได้, ดูตัวอย่างห้องพักของโรงแรม, ดูตัวอย่าง วีดีโอคลิป ของภาพยนต์ เพลง และอื่นๆอีกมากมาย ตามแต่องค์กรหรือบริษัทต่างๆจะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้า ซึ่งปัจจัยความสำเร็จของบริการดังกล่าว คือ
ความแพร่หลายของเครื่องโทรศัพท์ที่รองรับ Video Call
คุณภาพและความน่าสนใจของคอนเทนต์ที่จะนำเสนอให้กับลูกค้า กล่าวคือ 3G เปรียบเสมือนถนนสายใหญ่ ส่วนผู้ใช้ก็เปรียบเสมือนผู้ขับรถผ่าน ในขณะที่คอนเทนต์ก็เปรียบเสมือนสถานที่ต่างๆบนถนนสายนั้น ถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ โอกาสที่จะมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมก็จะสูงตามไปด้วย
3G
กับรูปแบบธุรกิจสื่อโฆษณา
รูปแบบธุรกิจ สำหรับสื่อโฆษณาบนโลก Internet นั้นได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และเริ่มมีผู้สนใจนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจโทรศัพท์มือถือด้วย ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาในรูปแบบ SMS, Banner เป็นต้น และเมื่อความพร้อมด้านโครงข่าย 3G มาถึง จะนำมาซึ่งรูปแบบโฆษณาที่ติดมากับคอนเทนต์รูปแบบใหม่ เช่น Live TV, Video-On-Demand และสร้างรูปแบบธุรกิจที่หลากหลายในวงการสื่อโฆษณาไม่ว่าจะเป็น แบบ Subscription Fee, Pay Per View, Video Advertising Call เป็นต้น
3G
กับ Cloud Service
ปัจจุบัน Cloud Service เริ่มเข้ามามีบทบาทในแวดวงธุรกิจคอมพิวเตอร์สูงขึ้น แต่เนื่องด้วย Cloud Service Model นั้นมีหลากหลายรูปแบบ สำหรับบทความนี้จึงขอยกตัวอย่าง ในมุมมองของผู้ใช้เป็นหลัก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าที่ไหน หรือเวลาใดก็ตาม เพียงแค่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตให้ได้เท่านั้น ตัวอย่าง Cloud Service ที่คุ้นหูคุ้นตากันดี ในแง่ของ “Software as a Service” (SaaS) อาทิ เช่น Google Docs, SalesForce.com ,Zoho เป็นต้น ดังนั้นเมื่อ 3G Mobile Broadband มาถึง ผู้ใช้เพียงแค่มี 3G USB Modem/Data Card ที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตแบบ Mobility ได้ ยิ่งทำให้เหมาะสมกับการใช้งานรูปแบบ Cloud Service เป็นอย่างมาก

การประยุกต์ใช้ 3G ในภาคธุรกิจ
ในธุรกิจโทรคมนาคม มีบริการและโซลูชั่นอย่างหนึ่งที่ชื่อว่า Machine to Machine (M2M) ที่นำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายภาคธุรกิจ โดยนำอุปกรณ์พิเศษที่สามารถใส่ซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ พร้อมด้วยการเขียนโปรแกรมเพื่อส่งข้อมูลจากอุปกรณ์เหล่านั้นไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) แบบไร้สาย ซึ่งการใช้งานดังกล่าว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเหมาะสมกว่าที่จะเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายแบบมีสายในบางสภาพแวดล้อม
ในความเป็นจริงแล้วโซลูชั่นดังกล่าวเกิดมาตั้งแต่ยุค 2Gและส่งข้อมูลผ่านสื่อต่างๆเช่น SMS,GPRS/EDGE   และเมื่อยุค 3G ที่มีคุณสมบัติในการส่งถ่ายข้อมูลสูงขึ้นกว่าเดิมมาก จึงยิ่งเป็นการส่งเสริมให้โซลูชั่นดังกล่าวเหมาะสมที่จะนำมาใช้มากขึ้น
ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ
ธุรกิจขนส่ง โลจิสติก โดยนำเทคโนโลยีดังกล่าว มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีทางด้านการค้นหาตำแหน่ง (Location-Based-Service) อาทิเช่น Global Positioning System (GPS) ทำให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้ว่า ขณะนี้รถของบริษัทกำลังขับออกนอกเส้นทางหรือไม่ การตรวจสอบและควบคุมรถขนส่งจากระยะไกลในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น
       
โรงงานอุตสหกรรม ที่ต้องใช้ระบบเครื่องมือวัดระยะไกล โดยรับสัญญาณที่เป็นผลข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น ระดับอุณหภูมิ, ระดับความดัน, flow rate เป็นต้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าวก็คือระบบที่มีชื่อว่า Supervisory Control and Data Acquisition (SCADA) นั่นเอง แต่สามารถนำเทคโนโลยีไร้สาย 3G มาประยุกต์ใช้เป็นสื่อกลางในการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) ได้
        
ธุรกิจร้านค้า ที่ต้องใช้ Point-Of-Sales (POS) เพื่อรองรับ การชำระเงินแบบออนไลน์ การชำระเงินผ่านบัตรเครดิตต่างๆ ซึ่งบางแห่งอาจไม่สะดวกที่ต้องเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายแบบมีสาย นอกจากนี้แล้วบริการรูปแบบ M2M ยังรวมไปถึงระบบ Home/Office Monitoring เพื่อจุดประสงค์ทางด้านความปลอดภัย อีกด้วย   ปัจจุบันรูปแบบบริการดังกล่าว มีผู้ให้บริการหลายรายในต่างประเทศ อาทิเช่น Orange, Verizon, Vodafone, Telenor, DoCoMo และอีกมากมาย นำเสนอให้กับกลุ่มลูกค้าองค์กรเพื่อสร้างคุณค่าให้กับการใช้งานเทคโนโลยี 3G   โดยมีการคาดการณ์จาก Strategy Analytics ว่าตลาดของบริการ M2M จากทั่วโลกที่เดิมในปี 2008มีมูลค่าต่ำกว่า 16พันล้านเหรียญสหรัฐ จะเพิ่มขึ้นเป็น 57 พันล้าน เหรียญสหรัฐในปี 2014 ถึงแม้ว่าบริการดังกล่าว จะมีประโยชน์มากกับหลายภาคธุรกิจ แต่ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาและมีผลต่อการเติบโตดังกล่าว คือ ความซับซ้อนของโซลูชั่นที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในส่วนของการพัฒนา และการเชื่อมต่อกับระบบของแต่ละบริษัท รวมถึงอุปกรณ์ที่ยังมีราคาค่อนข้างสูง
3G Mobile Broadband
เปิดประตูสู่โลกอินเตอร์เน็ต
จากรายงานของสมาคม GSM ได้ทำการสรุปผลการศึกษา แนวโน้มของเทคโนโลยี HSPA ว่าคุ้มค่าในการลงทุนและมีการใช้งานที่แพร่หลายมากกว่า และจะเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายในเวลา 5 ปีข้างหน้า ด้วยการที่มีฐานการผลิตที่มากขึ้นและราคาที่ลดต่ำลงของตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 3G อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากบรรดาผู้ผลิตส่วนประกอบ ผู้ผลิตระบบย่อย ผู้ผลิตอุปกรณ์และผู้ออกแบบเครือข่าย รวมทั้งการให้บริการ ทั้งหลายในโลก ช่วยร่วมกันผลักดัน
          
โดยปกติแล้วผู้ให้บริการ 3G ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นการเปิดตลาด 3G ด้วยการ ขายNotebook รวมไปกับ HSPA Aircard หรือ อุปกรณ์เชื่อมต่อโมเด็มแบบ USB มากกว่าที่จะเน้นการใช้งานอินเตอร์เน็ตจากตัวโทรศัพท์มือถือโดยตรง ทั้งนี้เพื่อต้องการเปิดตลาด Mobile Broadband เข้าไปแข่งกับผู้ให้บริการ ADSL เดิม ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างรายได้ จากค่าใช้บริการอินเตอร์เน็ตสูง ซึ่งประเทศในยุโรป Mobile Broadband ได้เข้ามารุกตลาดของ ADSL โดยเฉพาะในประเทศอย่างออสเตรีย, ฟินแลนด์ และ สวีเดน ที่มีผู้ใช้โมบายบอร์ดแบนกว่า 60%   อีกตัวอย่างกรณีศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือ ผู้ให้บริการ Maxis ในประเทศมาเลเซียที่มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 41.5% ได้เริ่มต้นเปิดให้บริการ HSDPA ตั้งแต่ กันยายน 2006 ซึ่งมีบริการด้านบันเทิงต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Video on Demand, การดาวน์โหลดเพลงแบบเต็มเพลง ดังเช่นผู้ให้บริการรายอื่นๆ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ การนำ 3G ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งแทน ADSL และการเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายแบบมีสายอื่นๆ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักก็คือผู้พักอาศัยที่ต้องการใช้บริการ Broadband โดยนำเสนอ 3G Wireless Modem ติดตามบ้าน ด้วยการตั้งราคาที่น่าดึงดูดใจเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ ประกอบกับการต่อรองกับผู้ผลิตอุปกรณ์ Modem ให้ได้ราคาที่ถูก จึงทำให้สามารถเพิ่มอัตราผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของประเทศมาเลเซียสูงขึ้นเป็นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา  ต้องยอมรับว่าปัจจุบันอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนคลังความรู้ขนาดใหญ่ที่มีความจำเป็นสำหรับผู้กำลังศึกษาในทุกระดับ และมีผลต่อการเพิ่มทักษะด้านต่างๆในการแข่งขันในตลาดแรงงาน รวมถึงพัฒนาประเทศไทยเราให้แข่งขันกับนานาประเทศได้ ในอนาคตเมื่อเทคโนโลยี 3G Mobile Broadband มาถึงจะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับนักเรียนไทยในต่างจังหวัดได้ใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น เพราะคอมพิวเตอร์โน้ตบุ้ก และ Netbook ในปัจจุบันมีราคาที่ถูกลงมาก และมีโอกาสเป็นไปได้เมื่อผู้ให้บริการเปิดบริการ 3G อย่างเป็นทางการ อาจจะถูกนำมาขายพ่วงหรือแม้กระทั่งแจกฟรีให้กับผู้ใช้
โดยสรุปแล้วจะเห็นว่าเทคโนโลยี 3G สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ และยังประโยชน์ให้กับหลายๆฝ่าย ทั้งผู้ใช้ทั่วไป ภาคการศึกษา ภาคอุตสหกรรม ผู้ประกอบการด้านบันเทิง ผู้ประกอบการด้านสื่อโฆษณา และอื่นๆ อีกมากมาย


ตัวอย่างที่น่าสนใจ

สมมตินิสิตคนหนึ่งอาศัยอยู่บ้านแถบชานเมือง ภายในบ้านมีเครือข่ายไร้สาย และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในบ้านเป็นเซิร์ฟเวอร์ ก่อนออกจากบ้าน นิสิตผู้นื้ใช้ปาล์มท้อปของตน อ่านอีเมล์ และดำเนินการส่งการบ้านผ่านเครือข่ายไร้สายไปให้อาจารย์ ครั้นพอถึงมหาวิทยาลัย ปาล์มท้อปนั้นก็เชื่อมเข้าสู่เครือข่ายของมหาวิทยาลัย สามารถดาวน์โหลดเอกสารคำสอนที่อาจารย์กำลังสอน และรับข้อมูลบางอย่างของที่โรงเรียนเพื่อนำกลับไปทำงานต่อที่บ้าน เครือข่ายที่บ้านและที่มหาวิทยาลัยเป็นเครือข่ายเฉพาะแต่ก็เชื่อมถึงกันผ่านทางอินเทอร์เน็ต

อีกตัวอย่างหนึ่งเพื่อให้เห็นว่า ระบบไร้สายตามแนวความคิดใหม่เป็นเช่นไร จึงขอยกตัวอย่างที่สนามบิน นักธุรกิจ ผู้หนึ่งเดินทางไปถึงสนามบินจึงรีบทำการเช็คอิน ขณะที่เครื่อง เช็คอินตรวจสอบเอ็กซ์เรย์กระเป๋า ภายในกระเป๋ามีคอมพิวเตอร์ โน้ตบุค คอมพิวเตอร์โน้ตบุคจะติดต่อกับเครือข่ายผ่านทางเครื่องเอ็กซเรย์ เพื่อทำการดาวน์โหลดอีเมล์ แฟกซ์ หรือ ftp ข้อมูลบางส่วนมาไว้ในโน้ตบุค เมื่อขึ้นเครื่องบิน นักธุรกิจก็นำโน้ตบุคนั้นมาอ่านจดหมาย ดำเนินการโต้ตอบ หรือเขียน ข้อความที่เกี่ยวกับการทำงาน ครั้นเมื่อเครื่องบินลงจอดที่สนามบินปลายทาง นักธุรกิจก็ให้โน้ตบุคติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะกิจของสนามบิน เพื่อนำจดหมายและเอกสารสำคัญอื่นส่งไปต่อให้กับผู้ร่วมงานที่บริษัท เห็นได้ชัดว่า ระบบไร้สายเป็นระบบที่มีคุณค่า และมีบทบาทที่สำคัญมาก WAP โทรศัพท์มือถือ PDA และปาล์ม หลังจากปี ค.. 1998 อุปกรณ์ประจำตัวอย่างหนึ่งที่มีแนวโน้มประสบผลสำเร็จในเรื่องการขายคือ PDA-Personal Digital Assistant โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์มือถือประเภทปาล์ม ปาล์มได้รับการออกแบบมาให้ถูกใจผู้ใช้ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย ระบบการอินพุตใช้เครื่องมือที่เรียกว่า stylus ซึ่งเป็นเสมือน ปากกาเขียนป้อนตัวอักษร หรือเป็นพอยเตอร์โดยตรง การพัฒนาซอฟต์แวร์บนปาล์มมีความก้าวหน้ามาโดยตลอด จากการใช้เป็น PDA ก็เริ่มทำให้เชื่อมโยงกับพีซี และต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการเพิ่มขีดความสามารถให้เป็น eBook มี MP3 ที่ทำให้ปาล์มกลายเป็นเครื่องบันเทิง มีโมเด็มต่อโทรศัพท์เข้าสู่เครือข่าย ปาล์มยังมีเวอร์ชั่นที่เชื่อมโยงแบบไร้สาย เพื่อเข้าสู่เครือข่ายโดยง่าย

ขณะเดียวกันโทรศัพท์มือถือก็พัฒนาให้มีระบบ WAP-Wireless Application Protocol เพื่อให้เชื่อมโยง โดยมีการสร้างมาตรฐานภาษาที่ชื่อ WML-Wireless Mark Up Language เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสาร โดยมี WAP เซิร์ฟเวอร์ การดำเนินการทางโทรศัพท์เคลื่อนที่จึงมีบริการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต  3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น 3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care ตรวจสอบค่าใช้บริกา), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว “Always On”

          คุณสมบัติหลักของ 3G คือ  มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (Always on)นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC

องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ3GPP2 ได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3Gขึ้น โดยมีมาตรฐานสำคัญอยู่ 2ประเภท คือ

มาตรฐาน UMTS(Universal Mobile Telecommunications Services) ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที

มาตรฐาน cdma2000 ป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้สามารถรองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน

การที่พัฒนาการของการสื่อสารไร้สายและระบบติดตามตัวยังไปได้ไม่ทันใจ ทั้งนี้เพราะมีอุปสรรคและ

ปัญหาที่สำคัญ ซึ่งเป็นปัญหาหลักสี่ประการคือ

1. ระบบไร้สายใช้อัตราการรับส่งข้อมูลได้ต่ำ

2. ค่าบริการค่อนข้างแพง

3. โมเด็มรับส่งแบบคลื่นวิทยุ ใช้กำลังงานไฟฟ้าสูง

4. ระบบยูสเซอร์อินเตอร์เฟสที่ใช้กับระบบติดตามตัวยังไม่ดี ไม่เหมาะกับการใช้งานขณะเคลื่อนที่

ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ระบบไร้สายในยุค 3G ต้องแก้ไขให้ได้ให้หมด โดยเฉพาะระบบโทรศัพท์

เคลื่อนที่ที่ต้องเพิ่มอัตราการรับส่งข้อมูลให้ได้มาก เพื่อจะส่งรูปภาพหรือภาพเคลื่อนไหวได้ ต้องมีอัตราค่าใช้บริการที่ถูกลง และเครื่องที่ใช้ต้องใช้กำลังงานต่ำเพื่อจะใช้ได้นาน

         รูปแบบของการเอาชนะปัญหาสี่ข้อเป็นเรื่องที่ท้าทายและจะต้องทำให้ได้ ระบบ 3G ที่กำลังจะ

เกิดขึ้นในเร็ววันนี้ได้ตั้งเป้าหมายไว้เรียบร้อยแล้ว

 

ความท้าทายในการพัฒนา 3G

 

การที่จะเอาชนะสิ่งที่เป็นปัญหาของระบบไร้สายในขณะนี้เป็นเรื่องที่ต้องสร้างแนวคิดใหม่ ทั้งนี้เพราะ

ความคิดเดิมอาจจะถึงจุดทางตันที่ไม่สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ ตลอดระยะเวลากว่ายี่สิบปีของการพัฒนาระบบไร้สายที่ใช้กับระบบเซลลูลาร์ กำลังเดินเข้าจุดอับบางอย่าง โดยเฉพาะทรัพยากรทางความถี่มีแถบกว้างจำกัด เมื่อมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มากย่อมให้บริการได้ไม่ดี ขณะเดียวกันความต้องการของผู้ใช้กำลังต้องการได้แถบกว้าง หรืออัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น

การใช้แถบความถี่ที่อนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรคลื่นความถี่ หรือเรียกว่า Licensed

Spectrum เช่น ระบบ GSM ใช้แถบความถี่ 890-960 เมกะเฮิร์ทซ์ ซึ่งแถบความถี่นี้จำกัด และทำให้จำนวนผู้ใช้ที่ใช้งานได้พร้อมกันมีจำนวนจำกัด หากให้ผู้ใช้รายหนึ่งใช้แถบกว้าง 10 กิโลเฮิร์ทซ์ แบบอานาล็อก ซึ่งสามารถคำนวณอย่างง่าย ๆ ว่า ในแต่ละเซลจะมีผู้เรียกเข้าถึงได้ประมาณ 700 คนทุกขณะ

สัญญาณวิทยุเป็นแบบมาตรฐาน ทุกระบบมีการกำหนดมาตรฐานกันไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่รูปแบบของการเข้ารหัส การมอดูเลตสัญญาณ การรับส่ง เพื่อว่าการผลิตอุปกรณ์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน

โครงสร้างเครือข่าย มีการวางเครือข่ายแบกโบน ของชุมสาย การวางสถานีฐาน การเชื่อมต่อระหว่างสถานี

และการสร้างเป็นเครือข่ายโดยมีโครงสร้างพื้นฐานอย่างชัดเจน เช่น ในประเทศไทย ถ้าจะให้เชื่อมโยงเข้าใช้ได้ สถานีฐานหรือแต่ละเซล จะครอบคลุมพื้นที่และมีการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกัน

การรับส่งเป็นแบบสมมาตร หมายถึง ข้อมูลเส้นทางขาเข้ากับขาออกจากผู้ใช้มีความเร็วและอัตราเท่ากัน

การบริการมีรูปแบบที่ไม่คำนึงถึงว่าผู้ใช้จะใช้ข้อมูลอย่างไร ช่องสัญญาณที่ออกแบบเน้นแบบสมมาตรเป็นหลัก

ต้องครอบคลุมทุกหนแห่ง ความคิดของผู้ออกแบบระบบเซลลูลาร์ เน้นให้ครอบคลุมพื้นทีให้ได้หมด ทำให้สามารถเข้าถึงได้จากทุกหนทุกแห่ง

การเปลี่ยนกรอบความคิดใหม่ เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ดีกว่า กรอบความคิดใหม่อาจแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง

กรอบความคิดในการเอาชนะปัญหาสี่ข้อจึงอยู่ที่ทำให้ระบบไร้สายมีความฉลาด และปรับตัวเองได้ โดยเริ่มจาก ไม่จำเป็นต้องเจาะจงอยู่กับความถี่ที่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้เพราะแต่ละที่ แต่ละสถานะการณ์อาจใช้ความถี่คลื่นวิทยุที่แตกต่างกันได้ การใช้คลื่นความถี่ได้มากขึ้นหรือกำหนดขนาดเซลเล็กใหญ่ แตกต่างกันทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่วิทยุที่กำหนดให้อย่างเดียว

ประการที่สองคือ ลักษณะของมาตรฐานของสัญญาณก็ต้องปรับเปลี่ยนได้ หรือ Adaptive signal

 การปรับเปลี่ยนสัญญาณทำให้ระบบมีความหลากหลายไม่เจาะจงอยู่แบบใดแบบหนึ่ง เครือข่ายเชื่อมโยงระบบไร้สาย ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเครือข่ายโครงสร้างหลักแบบที่ทำมา แต่ใช้เครือข่ายอื่นประกอบ เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือเครือข่ายเฉพาะกิจ อื่น ๆ ก็ได้ การเชื่อมโยงผ่าน เครือข่ายอื่นได้อีก ทำให้ระบบมีความยืดหยุ่น และขยายตัวได้มากโดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์-เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกแล้ว

ความเร็วในการรับส่งข้อมูล คนจะเป็นแบบ อสมมาตร คือ อัตราการรับและส่งข้อมูลไม่จำเป็นต้องเท่ากัน

เพราะบริการบางอย่าง เช่น การเรียกข้อมูล หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น เราต้องการอัตราเร็วของข้อมูลขาเข้ามากกว่าขาออก ดังนั้นการออกแบบแบ่งช่องสัญญาณภายใต้พาหะคลื่นวิทยุ จึงน่าจะตอบสนองตามความต้องการได้

ประการสุดท้ายคือ การออกแบบระบบไร้สายไม่เน้นให้ครอบคลุมพื้นที่หรืออาณาบริเวณทั้งหมด แต่เน้น

เฉพาะพื้นที่ของตนเองหรือพื้นที่เล็ก ๆ ที่ใช้งานและเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายได้

จากปัญหาสี่ประการที่กล่าวมาแล้ว ประกอบกับแนวคิดที่จะเปลี่ยนกรอบความคิดเดิมที่จะทำให้เกิด

เครือข่ายในแนวความคิดใหม่ พัฒนาการของกลุ่มบริษัท ไอบีเอ็ม อินเทล มอโตโรล่า อีริกสัน โนเกีย และบริษัทผู้ผลิตอื่นอีกหลายบริษัท จึงพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายแบบใหม่ และเรียกระบบใหม่นี้ว่า บูลทูธ (Blue Tooth) ปัญหาเดิมของระบบสื่อสารไร้สายคือ ทำอย่างไรให้อุปกรณ์พกพาติดตัวมีความอิสระใช้งานง่าย กินกำลังงานไฟฟ้าน้อย ใช้ได้นาน ได้อัตราการรับส่งข้อมูลสูง และมีต้นทุนการให้บริการต่ำ บูลทูธจึงเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว บูลทูธเป็นระบบสื่อสารไร้สายระยะใกล้ที่เชื่อมต่อเครือข่าย โดยตั้งเป้าหมายที่รัศมีไม่เกินสิบเมตร หรืออยู่ใกล้กับสถานีเบส แต่ใช้กำลังงานไฟฟ้าต่ำมาก มีอัตราการรับส่งข้อมูลได้ถึง 721 กิโลบิตต่อวินาที ใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ประมาณ 2,400 เมกะเฮิร์ทซ์ อุปกรณ์เชื่อมต่อในรูปแบบเครื่องรับส่งที่ต่ออยู่กับอุปกรณ์มีขนาดเล็กเท่ากับบัตรเครดิต ใช้แบตเตอรี่ขนาดเล็กมากได้ กรอบความคิดที่เปลี่ยนไปคือ ให้เครือข่ายบูลทูธเป็นเครือข่ายเฉพาะกิจขนาดเล็ก เช่น ใช้ในบ้าน ในที่ทำงาน โดย เครือข่ายเหล่านั้นเชื่อมโยงต่ออินเทอร์เน็ตได้ บูลทูธไม่เน้นการครอบคลุมพื้นที่กว้าง แต่ทำให้การเข้าถึงเครือข่ายทำได้ง่าย

ระบบไร้สายกับเครือข่ายในบ้าน ( Home Network )ด้วยเงื่อนไขของบูลทูธที่ทำให้การเชื่อมโยงเครือข่ายทำได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงที่ไม่ต้องเดินสายสัญญาณใหม่ ทั้งนี้ เพราะการเดินสายสัญญาณภายในอาคาร หรือการใช้ระบบสายสัญญาณย่อมไม่ คล่องตัวต่อการใช้งาน รูปแบบการเชื่อมโยงจึงเน้นการใช้เทคโนโลยีที่สะดวกต่อการติดตั้ง การใช้งาน และการบำรุงรักษา

 


           รูปที่ 7 เป็นโมเดลของเครือข่ายในบ้านที่ใช้ระบบไร้สาย

ในที่สุดโทรศัพท์เซลลูลาร์และอินเทอร์เน็ตก็เป็นเครือข่ายเดียวกันในระบบ 2G ใช้เทคโนโลยีการเข้าสู่ช่องสื่อสารทั้งแบบ TDMA คือ แบ่งช่องเวลา และ CDMA คือ การเข้ารหัส แล้วส่งในช่องสื่อสารที่มีแถบกว้างเต็มช่อง ซึ่งแบบ CDMA ก็เหมือนกับการรับส่งเป็นแพ็กเก็ต โดยมีแอดเดรสประจำในแพ็กเก็ต

ระบบ 3G เป็นระบบที่ใช้ WCDMA ซึ่งก็เน้นการรับส่งเป็นแพ็กเก็ตนั่นเอง ระบบ WCDMA

จึงเน้นช่องสื่อสารขนาดใหญ่ที่แบ่งการใช้งานโดยการเข้ารหัสแล้วส่งเป็นแพ็กเก็ต เพื่อให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพสูงสุด การหาเส้นทางและการเดินทางของแพ็กเก็ตข้อมูล จึงต้องอาศัยสวิตชิ่ง และระบบ IP แพ็กเก็ตจะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญที่จะรวมเครือข่ายต่าง ๆ ให้เป็นเครือข่ายเดียว (Unity Communication)

 

รูปที่ 8 เป็นโมเดลของระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายโทรศัทพ์ที่มีไอพีโฟนเป็นตัวเชื่อมโยง ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์แบบ H.323 ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ระบบเครือข่ายในบ้านที่ใช้บูลทูธ ระบบ VoIP หรือมัลติมีเดียอื่น ๆ ที่วิ่งอยู่บนไอพีเป็นหลัก

การแก้ปัญหาหลักในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ดี โครงข่ายสื่อสารระบบไร้สายก็ดี ต้องหันมาใช้กรอบ

ความคิด 3A (AAA) กล่าวคือ Adaptive Adhoc network และ Asymmetric 3A หมายถึงเครือข่ายที่เชื่อมโยงจะเป็นเครือข่ายเฉพาะกิจมากขึ้น มิได้เป็นโครงข่ายสาธารณะที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างแบบเดิม หรือมีมาตรฐานที่แน่นอน ดังนั้นต้องทำให้อุปกรณ์โมบาย (mobile) มีลักษณะปรับตัวได้และปรับตัวได้ง่าย ปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้วิธีการใส่การ์ดอิเล็กทรอนิกส์ที่รู้จักและเรียกกันว่า ซิมการ์ด หรือการ์ดส่วนตัว แต่จากนี้ไปจะต้องใช้การ์ดที่เรียกว่า Smart Card หรือการ์ดที่มีความชาญฉลาดที่จะปรับตัวให้เข้ากับเครือข่ายเฉพาะที่ (Ad hoc Network) ได้ ทั้งนี้เพราะการเข้าสู่ระบบ เครือข่ายเฉพาะกิจจะมีมากขึ้น เช่น เข้าสู่เครือข่ายของมหาวิทยาลัย เข้าสู่สนามบิน ฯลฯ การปรับตัวเข้าสู่ระบบเครือข่ายไร้สายที่ แตกต่างกันจึงต้องมีการปรับรูปแบบของการรับส่งสัญญาณ อีกประการหนึ่งคือ ผู้ใช้แต่ละรายมักมีพฤติกรรมการใช้แตกต่างกัน จึงทำให้ระบบการรับส่งเป็นแบบ Asymmetric เช่น เมื่อต่อเข้ากับฐานข้อมูล ก็จะใช้โหลดข้อมูลมามากกว่า เหมือน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันใช้ข้อมูลไม่สมมาตร แนวคิดในเรื่อง 3A จึงเป็นแนวคิดที่ทำได้โดยการใช้สมาร์ทการ์ดที่เชื่อมใส่ในอุปกรณ์มือถือเคลื่อนที่ต่าง อนาคต M-Commerceนักวิเคราะห์ทางด้านธุรกิจศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันและดูแนวโน้มพบว่า ภายในปี 2004 การเรียกเข้าสู่รายการย่อยของการดำเนินการทางธุรกิจต่าง ๆ ที่มีการรับส่งกันบนเครือข่ายจะมีการเรียกผ่านระบบมือถือถึงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์ส่วนนี้จะมีอัตราเพิ่มขึ้นอีก เหตุผลที่สำคัญคือ ราคา ต่อการใช้งานจะถูกลง และมีการใช้งานที่คล่องตัวสะดวกกว่าการเรียกผ่านคอมพิวเตอร์ M-Commerce จะมีแนวโน้มที่สำคัญและทำให้การเรียกเข้าหา หรือทำธุรกิจบน E-Commerce หันมาใช้อุปกรณ์พกพาติดตามตัว

         แนวทางและความคืบหน้าในการพัฒนาระบบ 3G ในประเทศไทยในกรณีของประเทศไทยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ให้ความสนใจที่จะพัฒนาโครงข่ายเพื่อเปิดให้บริการ 3G แต่ยังคงมีความล่าช้า เนื่องจากเดิมมีแนวทางที่จะพัฒนาระบบ 3G บนคลื่นความถี่ใหม่ 2100 MHz แต่มีความล่าช้าในการกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้ใบอนุญาต อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้หาทางออกเพื่อให้สามารถเปิดให้บริการระบบ 3G ได้เร็วที่สุด   โดยมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พัฒนาระบบ 3G บนคลื่นความถี่เดิม ซึ่งผู้ให้บริการก็ตอบรับนโยบายดังกล่าว โดยในช่วงเริ่มต้นจะเป็นการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี HSPA (High Speed Packet Access) สำหรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ไร้สาย ( Wireless Broadband Internet) ส่งผลให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ผู้ให้บริการจะต้องทำการขอใบอนุญาตในการนำเข้าอุปกรณ์ในการพัฒนาโครงข่ายจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในขณะนี้มีผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าอุปกรณ์จาก กทช.แต่ก็ไม่ถือว่าได้เปรียบมากนัก เนื่องจากยังต้องรอใบอนุญาตนำเข้าอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อขยายขอบเขตการให้บริการให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยคาดว่า กทช. จะออกใบอนุญาตนำเข้าอุปกรณ์ให้แก่ผู้ให้บริการทั้งหมดหลังจากออกหลักเกณฑ์ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว

การลงทุนพัฒนาโครงข่ายในระบบ 3G  จากการแข่งขันกันลดราคาค่าบริการการโทร ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้ (Average Revenueper User: ARPU) ลดต่ำลง ดังนั้น ผู้ให้บริการจึงต้องปรับตัวเพื่อแสวงหารายได้จากบริการ Non-Voiceมากขึ้น การขยายการลงทุนจึงมุ่งไปสู่แนวทางการพัฒนาระบบ 3G สำหรับในปี 2551 ที่ผู้ให้บริการจะเปิดให้บริการระบบ 3G ผ่านเทคโนโลยี HSPA บนคลื่นความถี่เดิมไปก่อนนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าผู้ให้บริการจะใช้เงินลงทุนสำหรับการพัฒนาในครั้งนี้ไม่สูงนัก เนื่องจากการพัฒนา 3G บนคลื่นความถี่เดิมนี้เป็นเพียงการหาทางออกชั่วคราวในการพัฒนาไปสู่ระบบ 3G และมองว่าการที่ผู้ให้บริการเปิดให้บริการระบบ 3G บนคลื่นความถี่เดิมนั้น เป็นเพียงการทดสอบตลาดและประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทราบถึงระบบ 3G อีกทั้งหากผู้ให้บริการเปิดให้บริการระบบ 3G บนคลื่นความถี่เดิมก็อาจต้องจ่ายค่าสัมปทานตามรูปแบบเดิม ซึ่งในมุมมองของผู้ให้บริการอาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์มากนัก ทั้งนี้ คาดว่าเงินลงทุนในการพัฒนาระบบ 3G บนคลื่นความถี่เดิมในปี 2551 โดยรวมจะมีประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท และจะเป็นการลงทุนเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต เป็นต้นสำหรับการลงทุนพัฒนาระบบ 3G อย่างเต็มรูปแบบ คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากที่ กทช. ได้ออกหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาตอย่างชัดเจนแล้วในประมาณปลายปี 2551 โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าผู้ให้บริการจะลงทุนพัฒนาโครงข่ายไปสู่ระบบ 3G บนคลื่นความถี่ใหม่ เนื่องจากมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาตามมาตรฐานสากล ตลอดจนต้นทุนที่ต้องจ่ายให้แก่ภาครัฐอาจจะต่ำกว่าการให้บริการบนคลื่นความถี่เดิม โดยคาดว่าผู้ให้บริการแต่ละรายจะต้องใช้เงินลงทุนในการพัฒนาระบบไม่ต่ำกว่าประมาณ30,000-40,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลาประมาณ 5 ปี หลังได้รับใบอนุญาต โดยจะแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 จะลงทุนในจังหวัดสำคัญ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต เป็นต้นระยะที่ 2 จะลงทุนในจังหวัดที่มีศักยภาพสูง และระยะที่ 3 จะเป็นการลงทุนครอบคลุมทั้งประเทศอย่างไรก็ตาม หลังจากการลงทุนในระยะที่ 1 คาดว่าผู้ให้บริการจะต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายในการขยายฐานลูกค้า Non-Voice ให้เพิ่มสูงขึ้น โดยจะต้องมุ่งเน้นการทำตลาดระบบ 3G ไปสู่คนส่วนใหญ่ (Mass Market) เพราะหากมุ่งทำตลาดเฉพาะกลุ่มเพียงอย่างเดียวก็อาจต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการเพิ่มรายได้รวมทั้งยังสูญเสียโอกาสในการแสวงหารายได้จากฐานลูกค้าในกลุ่มใหญ่ด้วย ส่วนการลงทุนในระยะที่ 2 และ 3 เพื่อขยายพื้นที่บริการให้เพิ่มมากขึ้นนั้น ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและมีความเสี่ยงต่อโอกาสการคุ้มทุนของผู้ให้บริการ โดยเงื่อนไขที่จะกำหนดขอบเขตและกรอบเวลาของการลงทุนในระยะต่อไปจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น พฤติกรรมและการตอบรับของผู้บริโภค สถานการณ์การแข่งขันในตลาดทั้งคู่แข่งขันรายเดิมและรายใหม่ สถานะทางการเงินของผู้ให้บริการ ภาวะเศรษฐกิจและตลาดการเงินของประเทศ กฎระเบียบของภาครัฐ เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้ระยะเวลาการลงทุนที่ได้ประเมินไปข้างต้นเปลี่ยนแปลงไปได้ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะเป็นเงื่อนไขในการลงทุนระยะต่อไป คือ การตอบรับของผู้บริโภคต่อระบบ 3G โดยในมุมมองของผู้ให้บริการอาจให้ความสำคัญกับการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่แต่เทคโนโลยีก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการให้บริการ ซึ่งการตอบรับของผู้บริโภคจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของบริการด้านเครือข่าย ขณะที่เครื่องลูกข่ายก็ต้องมีราคาที่เหมาะสม ตลอดจน Content ก็ต้องตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค จากทิศทางดังกล่าวจะทำให้การนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการควรจะเน้นไปที่การทำตลาดร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการเครือข่าย ผู้จัดจำหน่ายเครื่องลูกข่าย และผู้ให้บริการ Content ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นโจทย์สำคัญอีกประการหนึ่งของผู้ให้บริการระบบ 3G ในการชักจูงให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมมือกัน นอกจากนี้ Package ที่จะนำเสนอต่อผู้บริโภคนั้น จะต้องสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยด้วย อีกทั้งการขยายฐานลูกค้าในการให้บริการระบบ 3G จะต้องขยายไปสู่ผู้บริโภคในระดับทั่วไปให้ได้มากที่สุด กล่าวคือจะต้องพัฒนา Content ให้มีความหลากหลาย ง่ายต่อการใช้งาน และตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้ เช่น บันเทิง กีฬา ข่าวสาร การเงิน เป็นต้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนาและนำระบบ 3G มาใช้ในประเทศไทย สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1. ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
การเปิดให้บริการระบบ 3G จะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากระบบ 3G โดยการลงทุนภาคเอกชนจะมาจากการลงทุนของผู้ให้บริการในการพัฒนาโครงข่าย ซึ่งคาดว่าจะมีเงินลงทุนรวมไม่ต่ำกว่า 30,000-40,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลาประมาณ 5 ปี รวมทั้งยังส่งผลให้เกิดการลงทุนจากธุรกิจสนับสนุนและเกี่ยวเนื่องต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น การลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบด้านโทรคมนาคม เป็นต้น ส่วนด้านการบริโภคก็มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากบริการและเครื่องลูกข่ายด้านโทรคมนาคม รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้วย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสัดส่วนมูลค่าการบริโภคภาคเอกชนด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมต่อ GDPมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ราคาค่าบริการและเครื่องลูกข่ายมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2550 มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 2.19 เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.53 นอกจากนี้ การพัฒนาระบบ 3G ยังช่วยส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและไอทีมากขึ้น

2. ประโยชน์ต่อธุรกิจโดยตรงและเกี่ยวเนื่อง
ธุรกิจโดยตรงที่จะได้รับประโยชน์จากการเปิดให้บริการระบบ 3G ได้แก่ ผู้ให้บริการระบบ และผู้จัดจำหน่ายเครื่องลูกข่าย โดยในส่วนของผู้ให้บริการระบบคาดว่าหลังการเปิดให้บริการระบบ 3G จะทำให้รายได้จากบริการ Non-Voice เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะบริการ Mobile Internet และบริการรับส่งข้อมูลต่างๆ เนื่องจากระบบ 3G จะทำให้การรับส่งข้อมูลมีความเร็วและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เป็นการพัฒนาไปสู่อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ไร้สาย ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน รวมทั้งความเร็วที่เพิ่มขึ้นนี้ก็จะรองรับ Content การใช้งานในด้านต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น TV on Mobile, Video Call เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาแนวโน้มของรายได้จากบริการ Non-Voice เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรายได้จากบริการ Non-Voice ในส่วนของบริการข้อมูลอื่นๆ ขณะที่รายได้จากบริการ SMS เริ่มชะลอตัวลง สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีไปสู่ระบบ 3G อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2551 รายได้ของผู้ให้บริการจากระบบ 3G จะยังคงไม่สูงนัก เนื่องจากยังเป็นช่วงเริ่มต้นในการพัฒนาระบบและทดลองตลาด โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในกรณีที่ตลาดตอบรับเป็นอย่างดี ผู้ให้บริการจะเริ่มรับรู้รายได้อย่างชัดเจนจากการให้บริการระบบ 3G ภายในประมาณปี 2553 โดย จะทำให้สัดส่วนรายได้ของบริการ Non-Voice เติบโตไปจนมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของรายได้ทั้งหมดของผู้ให้บริการ จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 เท่านั้นสำหรับผู้จัดจำหน่ายเครื่องลูกข่ายก็คาดว่าจะได้รับผลดีจากการเปิดใช้บริการระบบ 3G เช่นกันโดยจะทำให้ยอดขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่รองรับระบบ 3G มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ Smart Phone และ PDA (Personal Digital Assistant) ที่สามารถรองรับเทคโนโลยีระดับสูงได้ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในกรณีที่ตลาดตอบรับเป็นอย่างดี จะทำให้ภายในประมาณปี 2553 ยอดขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ Smart Phone และ PDA ที่สามารถรองรับระบบ 3G จะเติบโตจนมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ Smart Phone และ PDA ทั้งระบบ จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 20 เท่านั้น ในส่วนของธุรกิจเกี่ยวเนื่องก็คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาและนำระบบ 3G มาใช้เช่นกัน โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบด้านโทรคมนาคม รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Content สำหรับการใช้งานบนระบบ 3G ก็คาดว่าจะเกิดบริการใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นโดยจะเน้นไปที่การใช้งานที่สะดวกรวดเร็วและมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ง่ายต่อการใช้งาน ไม่ว่าผู้ใช้จะมีความรู้ด้านเทคโนโลยีหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ สามารถสรุปแนวโน้มของตัวอย่างธุรกิจเกี่ยวเนื่องต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ดังนี้

ประเภทธุรกิจ แนวโน้มหลังการเปิดให้บริการ 3G

  • โครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ ด้านผู้ให้บริการจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเม็ดเงินลงทุนพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสารระบบ 3G เช่น การพัฒนา Cell Site การพัฒนา Network Carrier เป็นต้น
  • พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ จะมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่รองรับบริการ Content ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นบนระบบ 3G รวมทั้งซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยเพื่อรองรับ Content ที่ต้องการความปลอดภัยมากขึ้น
  • บริการทางการเงินออนไลน์ มีการแข่งขันกันสูง จะมีการร่วมพัฒนาระบบบริการทางการเงินระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถาบันการเงินมากขึ้น
  • ซื้อขายออนไลน์ จะมีการพัฒนาระบบการซื้อขายออนไลน์ให้มีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น รวมทั้งจะมีสินค้าที่เข้ามาทำการซื้อขายออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
  • บริการข้อมูลออนไลน์ จะมีการเปิดให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้นเช่น ข้อมูลการลงทุน ข้อมูลการเดินทางและท่องเที่ยว ข้อมูลร้านอาหาร เป็นต้น ซึ่งจะมีรูปแบบการให้บริการที่สร้างความสะดวกแก่ผู้ใช้มากขึ้นด้วย
  • โฆษณาออนไลน์ คาดว่าจะมีปริมาณและรูปแบบการโฆษณาออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น จากเดิมที่มักจะเป็นการส่ง SMS ซึ่งอาจสร้างความรำคาญให้กับลูกค้ามากกว่าที่จะเป็นการสื่อสารทางการตลาด
  • บันเทิงออนไลน์ จะมีการให้บริการด้านบันเทิงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น โดยเฉพาะบริการดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่ต่างๆ เช่น เพลงคอนเสิร์ต ภาพยนตร์ เป็นต้น โดยวิธีการดาวน์โหลดและการใช้งานจะสะดวกและง่ายต่อผู้ใช้
  • กีฬาออนไลน์ จะมีบริการอัพเดทข่าวสารกีฬา ข้อมูล ตลอดจนดาวน์โหลดภาพการแข่งขันกีฬาแก่ผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ต่างๆ
  • เกมส์ออนไลน์ จะเกิดบริการเกมส์ออนไลน์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างๆ มากขึ้นจากเดิมที่จะเล่นได้เฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น เนื่องจากข้อจำกัดด้านความเร็วในการรับส่งข้อมูล

สำหรับในสหรัฐอเมริกาเองได้พัฒนาต้นแบบ E911 ซึ่งเป็นต้นแบบของการให้บริการข่าวสาร และการ

ติดต่อผ่านระบบไร้สาย โดยมีพื้นที่การให้บริการรัศมี 100 เมตร นั่นหมายถึง เมื่อเราเดินทางเข้ามาในกรอบ พื้นที่บริการ อุปกรณ์มือถือเราจะติดต่อกับสถานีบริการนี้ได้ ดังนั้น ธนาคาร สถานที่ราชการ ห้างร้าน ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ สามารถตั้งสถานีเบสครอบคลุมพื้นที่บริการของตนเองภายในรัศมี 100 เมตร ลูกค้าที่เข้ามาในบริเวณสามารถติดต่อเชื่อมโยงได้ E911 จึงเป็นหนทางที่จะทำให้การบริการะบบไร้สาย มีฐานการให้บริการได้อีกมาก

อนาคตกรอบการใช้งานระบบไร้สายจึงเป็นภาพที่ทำให้บริการอีกมากมายเกิดขึ้นได้ และไม่ว่าเราจะอยู่ที่

ใดบนพื้นโลกก็จะเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้ไม่น้อยกว่าที่เรานั่งอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

        

ประโยชน์ต่อผู้บริโภค

ระบบ 3G จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับบริการโทรคมนาคมที่ดีขึ้น โดยเฉพาะบริการด้านอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้บริการ Content บนอินเทอร์เน็ตที่ต้องอาศัยความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้มากขึ้น เช่น e-Education ที่จะช่วยสร้างโอกาสทางการศึกษาทางไกล, e-Banking ที่จะช่วยสร้างความสะดวกสบายทางการเงิน, e-Entertainment ที่จะช่วยให้ดาวน์โหลดภาพยนตร์หรือเพลงได้รวดเร็วขึ้น เป็นต้น รวมทั้งยังช่วยให้ผู้บริโภคมีโอกาสการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้สูงขึ้น โดยในกรณีที่ระบบ 3G เปิดให้บริการครอบคลุมทั้งประเทศแล้ว จะทำให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้มากขึ้น จากเดิมที่ต้องพึ่งพาระบบสาย ทำให้พื้นที่ที่สายโทรศัพท์ยังไม่ครอบคลุมก็จะไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ หรือในบางพื้นที่ความเร็วในการให้บริการอินเทอร์เน็ตก็ยังไม่สูงนัก ซึ่งการพัฒนาระบบ 3G จะช่วยให้อัตราการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม โดยในปี 2550 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 15.5 ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านเช่นมาเลเซียและเวียดนามที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 60.0 และ 21.4 ตามลำดับ รวมทั้งยังต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของทั่วโลกที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 20.0 อย่างไรก็ตาม อัตราการใช้อินเทอร์เน็ตของไทยยังอยู่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่อยู่ที่ประมาณร้อยละ 13.7 นอกจากนี้ ระบบ 3G ยังช่วยตอบสนองพฤติกรรมและวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคในเมืองใหญ่ที่มีความต้องการข้อมูลข่าวสารที่ฉับไว สามารถติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตระหว่างการเคลื่อนที่และนอกสถานที่ รวมทั้งมีความต้องการใช้บริการ Multimedia มากขึ้น

ความพร้อมของผู้ใช้บริการระบบ 3G ในประเทศไทยในปัจจุบันกลุ่มผู้ใช้บริการ Non-Voice ในปริมาณมาก โดยเฉพาะบริการข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่ใช้ SMS และ MMS ยังมีสัดส่วนที่ไม่สูงนัก โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บริการในกลุ่มนี้ถือว่ามีศักยภาพและกำลังซื้อสูง โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักธุรกิจและนักลงทุนที่ต้องรับข้อมูลข่าวสารอยู่โดยตลอด รวมทั้งต้องการระบบที่ตอบสนองการทำงานในขณะเคลื่อนที่ ในอนาคตคาดว่าหลังการลงทุนพัฒนาระบบ 3G อย่างเต็มรูปแบบ จะทำให้เกิดการขยายตัวของฐานผู้ใช้บริการมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่มีกำลังซื้อและชื่นชอบการใช้งานเทคโนโลยีรุ่นใหม่ และกลุ่มผู้ใช้บริการในเมืองใหญ่ที่มีไลฟ์สไตล์ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินชีวิต อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการจะต้องเร่งขยายฐานลูกค้าไปสู่คนส่วนใหญ่ที่ปัจจุบันยังไม่มีการใช้บริการ Non-Voice มากนัก เช่น กลุ่มลูกค้าที่ไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี กลุ่มลูกค้าที่ยังไม่เห็นประโยชน์ของบริการ Non-Voice เป็นต้น เพื่อลดภาวะการแข่งขันในกลุ่มลูกค้าเดิมที่คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้นและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้เพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้ ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ Content ที่ให้บริการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะนี้ที่ยังมีไม่มากนัก รวมทั้งยังไม่มีความสะดวกในการใช้งานและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค สะท้อนให้เห็นจากสัดส่วนผู้ใช้บริการ Non-Voice ที่มีปริมาณยังไม่สูง อย่างไรก็ตาม หลังการเปิดใช้งานระบบ 3G จะช่วยให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายมีความเร็วมากขึ้น ส่งผลให้มีโอกาสในการพัฒนา Content ใหม่ๆ และหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สรุปปัจจัยที่อาจมีผลต่อความสำเร็จในการให้บริการ 3G ดังนี้

ปัจจัยบวก

  • + จำนวนผู้ใช้บริการ Non-Voice ยังไม่สูงนัก ทำให้มีโอกาสขยายฐานให้เพิ่มสูงขึ้นได้ในอนาคต
  • + ความเร็วและคุณภาพในการให้บริการที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลดึงดูดให้ผู้ใช้บริการมีมากขึ้น
  • + การแข่งขันด้านราคาของผู้ให้บริการจะ ทำให้ราคาค่าบริการไม่สูงนัก ช่วยจูงใจ ให้มีผู้ใช้บริการมากขึ้น
  • + การสนับสนุนของภาครัฐที่มีความชัดเจน มากขึ้น รวมทั้งควบคุมให้การแข่งขันใน ตลาดเป็นไปอย่างยุติธรรม

 

 

ปัจจัยลบ

  • - การลงทุนพัฒนาโครงข่ายต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและมีความเสี่ยงในด้านโอกาสของการคุ้มทุน
  • - ความล่าช้าในการออกกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ในการขอใบอนุญาตในการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ใหม่
  • - จำนวนผู้ใช้บริการ Non-Voice ที่ยังไม่สูงเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการในการขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น
  • - Content ยังมีไม่มากและไม่หลากหลาย
  • - ความเข้าใจเรื่อง Technology ของคนไทยไม่สูงและจำกัดอยู่ในบางกลุ่มเท่านั้น

การบริการ 3G AIS คือการนำเทคโนโลยี HSPA - High Speed Packet Access บนคลื่นความถี่ปัจจุบัน มาพัฒนาเป็นบริการหลากหลายรูปแบบที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างสะดวกสบายบนมือถือ และถือเป็นการทำงานบนสัญญาที่รับสิทธิอยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง TOT และ เอไอเอส ที่ได้ทำ MOU ร่วมกันในการพัฒนากิจการโทรคมนาคมไทย   ซึ่งเอไอเอสได้รับสิทธิจาก TOT ในการปรับปรุงโครงข่ายจากที่ได้ให้บริการอยู่ปัจจุบัน เพื่อที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่บนความถี่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ TOT เองก็ได้รับอนุญาต จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ให้ทำการปรับปรุงโครงข่ายโดยใช้เทคโนโลยี HSPA บนคลื่นความถี่ 900 เม็กกะเฮิร์ตซเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 “3G AIS  ถือเป็นบริการใน Generation ที่ 3 บนมาตรฐาน WCDMA (Wide Band CDMA) ที่คลื่นความถี่ 900 เม็กกะเฮิร์ตซ หรือที่เรียกกันว่า 3G ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง (HSPA) ขนาดสูงสุดที่ 7.2 Mbps ซึ่งแตกต่างจาก GPRS หรือ EDGE ปัจจุบันที่ให้ความเร็วสูงสุดเพียง 230 Kbps หรือ ต่างกันถึง 30 เท่า ดังนั้นจึงทำให้สามารถให้บริการต่างๆได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก อาทิ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือ (Wireless High Speed Internet), โทรศัพท์แบบเห็นหน้า (Video Call) หรือ บริการดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่ในลักษณะของ Video Clip, Video Streaming, Full Song, Music Video, ฯลฯ

จะเห็นได้ว่าโครงข่ายหลัก 3 โครงข่าย คือ AIS, DTAC และ TA ORANGE ซึ่งรวมกันแล้วมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 96.5 จากยอดผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ณ สิ้นปี พ.. 2546 ทั้งสิ้น 22.43 ล้านราย และ 27.5 ล้านราย ณ สิ้นปี พ.. 2547 คิดเป็นอัตราผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี พ.ศ.2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากปี พ.. 2546

3G ตัวเร่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

              รายงานของบีซีจี ระบุอีกว่า หากมีปัจจัยแวดล้อมและกรอบกฎหมายควบคุมที่เหมาะสม ไทยสามารถมีผู้สมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตถึง 17.9 ล้านคนในปี 2020 หรือคิดเป็นผู้สมัครใช้บริการ 26 คนต่อประชากร 100 คน โดยปีเดียวกันนี้คาดว่า 70% ของครัวเรือนจะมีสมาชิกใช้บริการอินเทอร์เน็ตอย่างน้อย 1 บัญชีสมาชิก ส่วนการใช้งานของภาคธุรกิจจะอยู่ที่ประมาณ 91%   ขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าประมาณ 2 ใน 3 ของผู้สมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตในไทยจะเป็นแบบไร้สาย เนื่องจากการครอบคลุมของสัญญาณโทรศัพท์พื้นฐานจะกระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง ดังนั้น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในเขตชนบท 85% น่าจะเป็นแบบไร้สาย ขณะที่ ในเขตเมืองก็จะมีผู้ใช้ระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายสูงถึง 55%ความเชื่อเกี่ยวกับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือยุค 3 G  จะเป็นจุดเปลี่ยนในแวดวงของผู้ให้บริการโทศัพท์เคลื่อนที่เมืองไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระบบจีเอสเอ็ม  ยังยากจะมีคำตอบชัดเจน  เพราะบางคนก็เชื่อว่า จะไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก  เนื่องจากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของคนไทยยังไปไม่ถึงขั้นนั้น ขณะที่ผู้เล่นหน้าใหม่อย่างบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)อยู่ระหว่างหาพันธมิตรหวังปัดฝุ่นไทยโมบายลุยศึกในสนามแข่งยุค   3G  เช่นเดียวกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)ประกาศจับมือกับฮัทชิสัน ของมหาเศรษฐีโลกชาวฮ่องกง ลีกา ชิงเพื่อบุกตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 3G ในระบบซีดีเอ็มเอ
 
            มีความเห็นจากผู้อยู่ในวงการท่านหนึ่ง  ดร.โรเบอร์โต พาโดวานี่ รองประธานบริหารและประธานฝ่ายเทคโนโลยีของควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรท ที่เปิดใจกับ  Business Thai ถึงแนวโน้ม และจุดเปลี่ยนธุรกิจสื่อสารของโลกและของไทยเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า  ผมมองว่า ตลาดอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายในปัจจุบันนี้ มีผู้ใช้บริการ 3G มากกว่า 625 ล้านราย และมีการทำนายว่าจะมีผู้ใช้บริการ 3G มากกว่า  1.2 พันล้านรายภายในปี 2012 รวมทั้งโทรศัพท์มือถือ 3G จะมียอดขายมากกว่า 57% ซึ่งมากกว่าโทรศัพท์มือถือจีเอสเอ็ม”  นั่นหมายความว่า  3G จะเป็นการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ไร้สายส่วนใหญ่ในทศวรรษหน้า!!!
 
            ซึ่งตลาดบรอดแบนด์ไร้สายจะมีการเชื่อมต่อผ่าน 3G กว่า 92% ในปี 2012 ตลาดในประเทศเกิดใหม่จะมีส่วนแบ่งมากกว่า 70% จากผู้ใช้บริการทั่วโลกในปี 2012 รวมทั้งจะมีอุปกรณ์เชื่อมต่อของเทคโนโลยี 3G ประมาณสองพันล้านเครื่องมากกว่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ CE อื่นๆ ทั่วโลก

ประเทศเอเชียส่อเค้า 3G โต

                 นอกจากนี้ ดร.โรเบอร์โต พาโดวานี่  ยังวิเคราะห์แนวโน้มที่เกิดว่า ประเทศในเอเชียแปซิฟิคทั้ง 11 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยจะมีบทบาทที่สำคัญเพิ่มขึ้นสำหรับตลาด  3G ในปี 2008-2012 โดยในไตรมาสที่ 1 ปี2008 นี้มีส่วนแบ่งทางการตลาด 11% จะเพิ่มขึ้นเป็น 29% ในไตรมาสที่สี่ของปี 2012 ซึ่งเทคโนโลยี 3G เพิ่มรายได้ที่เติบโตสูงมากจากการให้บริการทางด้านข้อมูลทั่วโลก  ทั้งเทลสตาร์ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 84% เอทีแอนด์ทีที่มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 57%  Verizon Wirelessที่มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 49% โวดาโฟนที่มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 45% จากการเปิดให้บริการ 3G ทั่วโลก ควอลคอมม์ ได้ลงทุนมากกว่า 20% จากรายได้ในการวางโรดแมปครบวงจร รวมทั้งการรวบรวมและพัฒนาพันธมิตรต่างๆ มากมาย รวมทั้งการจ่ายเงินไร้สายด้วย อาทิเช่น ซิตี้แบงก์และอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยี 3G ยังช่วยทำให้ราคามือถือลดลงอีกด้วย อาทิเช่น ราคาโทรศัพท์มือถือ CDMA2K ในอินเดียมีราคาต่ำกว่า 20 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ เนื่องจากมีผู้ผลิตอุปกรณ์มากขึ้นถึงสองเท่าในขณะที่อัตราการเข้าถึงและผู้ใช้ บริการ CDMA เติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ยอดขายโทรศัพท์มือถือพุ่งพรวดผู้บริหารรายนี้ย้ำ พร้อมกับอธิบายอีกว่า นอกจากนี้ โครงการไวร์เลส รีช ของควอลคอมม์มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ ให้การสนับสนุนโปรแกรมและโซลูชั่นส์ที่ก่อให้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อ 3G ในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลกด้วยการใช้โซลูชั่นส์ 3G โครงการได้ให้ทางใหม่สำหรับประชาชนในการสื่อสาร การเรียนรู้ การเชื่อมต่อด้านสุขภาพและการเข้าสู่ตลาดโลก
 
            ขณะนี้โครงการไวร์เลส รีชได้ทำโครงการถึง 29 โครงการใน 19 ประเทศในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมาของโครงการ อาทิเช่น โครงการไวร์เลส รีชในอินเดีย สำหรับชาวประมงที่สามารถทำให้เช็คราคาตลาด สภาพภูมิกากาศ ข้อมูลเร่งด่วนในภาษาท้องถิ่นได้ รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการพัฒนาทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งโครงการไวร์เลส รีส เฟสที่สองในแม่ฮ่องสอน ที่ควอลคอมม์ได้ทำพิธีเปิดไปเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา ด้วยการนำเทคโนโลยี 3G และบริการบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง ตอบสนองความต้องการทางการแพทย์ชนบทในภาคเหนือของประเทศไทย โดย ควอลคอมม์ร่วมกับพันธมิตร  มอบคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก  49 เครื่อง พร้อมเครื่องพิมพ์และอุปกรณ์เชื่อมต่อ EV-DO Rev. A Data Card จำนวน 49 การ์ด โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่น C5320 จำนวน 49 เครื่อง ซึ่งสามารถรองรับระบบ CDMAได้เป็นอย่างดี ซิมการ์ด และบริการโทรศัพท์เป็นระยะเวลาหนึ่งปีเต็ม  ให้กับสถานีอนามัยทั้ง 49 แห่งผ่านมูลนิธิแพทย์อาสา พอ.สว. กระทรวงสาธารณสุข 

             เทคโนโลยีและมือถือ 3G ราคาลดลงรองประธานบริหารและประธานฝ่ายเทคโนโลยีของควอลคอมม์ยังวิเคราะห์ว่า แนวโน้มอุปกรณ์ 3G ที่กำลังมีราคาลดลงเนื่องจากกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ ราคาโทรศัพท์มือถือ 3G จะต่ำกว่า 1,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ 3G จะให้บริการที่มีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อผู้บริโภค  รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ จะมีการคอนเวอร์เจนท์กันมากขึ้น ทั้งอุปกรณ์ Pocketable & Mobile Computing Devices: Pocketable Devices, Mobile Computing Devices, Personal Navigation Devices and Portable Multimedia Players/Mobile Entertainment Devices ซึ่งควอลคอมม์จะผลิตชิพเซ็ต snapdragon ที่มีคุณภาพสูงด้วยคุณสมบัติพิเศษดังต่อไปนี้ Industry Leading Performance, Comprehensive Platform, Always On & Connected, Advanced Multimedia & GPS.  ทั้งนี้  ดร.โรเบอร์โต พาโดวานี่ รองประธานบริหารและประธานฝ่ายเทคโนโลยีของควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรท ยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเครือข่ายพร้อมสำหรับ 3G แล้วเพราะในเอเชียแปซิฟิคทั้ง 11 ประเทศ มีเพียงประเทศไทย พม่าและเวียดนามเท่านั้นที่ยังไม่มีการเปิดให้บริการ 3G รวมทั้งประเทศไทยสามารถเปิดให้บริการ 3G บน 850-900 Mhz หรือ 2100 Mhz เหมือนประเทศอื่นๆ ที่มีหลายๆ มาตรฐานความถี่ทั่วโลก เพื่อเป็นการขยายการรับรู้และให้ลูกค้าเอไอเอสชาวกรุงเทพฯ ทั้ง GSM advance และ One-2-Call!ได้สัมผัสประสบการณ์จากอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 เอไอเอส จึงเปิดให้บริการ 3G  ด้วยเทคโนโลยี HSPA บนคลื่นความถี่ 900 เม็กกะเฮิร์ตซ เป็นรายแรกในกรุงเทพมหานครฯ โดยเริ่มติดตั้งเครือข่ายครอบคลุมบริเวณโซนพลาซ่า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และ เอไอเอส ฟิวเจอร์เวิลด์ สยามพารากอน เนื่องจากมองว่าเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง เป็นศูนย์รวมของทั้งนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน หรือ ครอบครัว จึงเหมาะที่จะใช้เป็นพื้นที่เริ่มต้นให้ชาวกรุงเทพฯ ได้มาทดลองใช้งานจริง โดยลูกค้าเอไอเอส ทั้ง GSM advance และ One-2-Call! สามารถใช้บริการได้ทันที เพียงแจ้งเปิดใช้บริการ 3G ที่สำนักงานบริการเอไอเอส ชั้น 4 เซ็นทรัล เวิลด์    สำหรับบริการที่เปิดให้ทดลองใช้จริงนี้ ประกอบด้วย มือถือเห็นหน้าได้ (Video Call), บริการข้อมูลทั้งหมดใน AIS Mobile Internet ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น TV on Mobile ซึ่งจะมีภาพและเสียงที่คมชัดมากยิ่งขึ้น รวมถึงการใช้งาน Wireless Hi-Speed Internet โดยอัตราค่าบริการ Data นั้น จะคิดตามปริมาณข้อมูลที่ใช้งานจริง ส่วนโปรโมชั่น Voice Call จะเป็นโปรโมชั่นเดิมที่ใช้งานอยู่ โดยปัจจุบันมีมือถือที่รองรับการใช้งานแล้วหลากหลายรุ่นด้วยกัน อาทิ Nokia 5320, 6121, 6220, E6, E71,N78,N79, Phone One M602, M602+, (USB Modem) E500 และรุ่นอื่นๆ รวมแล้วกว่า 10 รุ่น   การติดตั้งเครือข่าย HSPA ของเอไอเอส ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ที่สอดคล้องกับความต้องการ โดยตั้งเป้าให้มีสถานีฐานทั้งหมดรวมแล้วมากกว่า 500 สถานี ทั้งนี้จะทยอยขยายพื้นที่ครอบคลุมมากขึ้นตามลำดับใน 3 จังหวัด คือ กรุงเทพ, เชียงใหม่ และชลบุรี ที่จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นปี 2552”

             การบริการ 3G AIS คือการนำเทคโนโลยี HSPA - High Speed Packet Access บนคลื่นความถี่ปัจจุบัน มาพัฒนาเป็นบริการหลากหลายรูปแบบที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างสะดวกสบายบนมือถือ และถือเป็นการทำงานบนสัญญาที่รับสิทธิอยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง TOT และ เอไอเอส ที่ได้ทำ MOU ร่วมกันในการพัฒนากิจการโทรคมนาคมไทย   ซึ่งเอไอเอสได้รับสิทธิจาก TOT ในการปรับปรุงโครงข่ายจากที่ได้ให้บริการอยู่ปัจจุบัน เพื่อที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่บนความถี่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ TOT เองก็ได้รับอนุญาต จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ให้ทำการปรับปรุงโครงข่ายโดยใช้เทคโนโลยี HSPA บนคลื่นความถี่ 900 เม็กกะเฮิร์ตซเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   3G AIS  ถือเป็นบริการใน Generation ที่ 3 บนมาตรฐาน WCDMA (Wide Band CDMA) ที่คลื่นความถี่ 900 เม็กกะเฮิร์ตซ หรือที่เรียกกันว่า 3G ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง (HSPA) ขนาดสูงสุดที่ 7.2 Mbps ซึ่งแตกต่างจาก GPRS หรือ EDGE ปัจจุบันที่ให้ความเร็วสูงสุดเพียง 230 Kbps หรือ ต่างกันถึง 30 เท่า ดังนั้นจึงทำให้สามารถให้บริการต่างๆได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก อาทิ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือ (Wireless High Speed Internet), โทรศัพท์แบบเห็นหน้า (Video Call) หรือ บริการดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่ในลักษณะของ Video Clip, Video Streaming, Full Song, Music Video, ฯลฯ

ก้าวต่อไปกับเทคโนโลยี 4G
เทคโนโลยี 4G หรือ Fourth-Generation เป็นการพัฒนาขั้นต่อไปจาก เทคโนโลยี 3G โดยตามทฤษฎีที่คาดหวังไว้นั้นขณะเคลื่อนที่จะมีอัตราความเร็วสำหรับการ ดาวน์โหลดข้อมูลประมาณ 100 Mbps (และ 1Gbps เมื่อหยุดนิ่ง) ส่วนอัตราความเร็วสำหรับอัพโหลดข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 50 Mbps ด้วยคุณภาพและความปลอดภัยในการสื่อสารบนพื้นฐานโครงข่ายข้อมูล IP ทั้งหมด ปัจจุบันผู้ให้บริการหลายราย อาทิ เช่น DoCoMo, Verizon, Telus กำลังทำการทดสอบเทคโนโลยี LTE (Long Term Evolution) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังถูกนำเสนอให้เป็นมาตรฐาน ในขณะที่แบรนด์ใหม่อย่าง “Clear” ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันระหว่างบริษัท Clearwire และ Sprint ผู้ให้บริการอันดับ 3 ในสหรัฐอเมริกา ก็กำลังพยายามผลักดัน mobile WiMAX ให้เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีในอนาคตด้วยเช่นกัน โดยคาดการณ์กันว่าคงจะได้เห็นการเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ในช่วงปลายปี 2010 หรือ 2011

------------------------------------------------------------------------------------------

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น